เล่าเรื่องความสุข
  2012-03-27 16:10:07  cri

 

ช่วงนี้ ควันหลงการประชุมสองสภายังเป็นประเด็นฮิตที่ชาวจีนนิยมพูดถึงกันอยู่เลยระครับ ประเด็นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดส่วนใหญ่เป็นปัญหาเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของประชาชน และปัญหาสังคม

และคำว่า "ความสุข" ก็เป็นศัพท์ที่ได้ยินบ่อยมากในช่วงนี้ ขณะที่เราส่งคำอวยพรให้กับคนอื่น มักจะพูดว่า "ขอให้มีความสุข" แต่ความสุขจริงๆ คืออะไรกันซึ่งคิดว่า ร้อยคนก็มีคำตอบร้อยอย่าง เพราะว่าความสุขมีความหมายกว้างมาก จากการรับประทานอาหารอร่อยๆ มื้อหนึ่ง จนถึงทำธุรกิจสำเร็จได้กำไรเป็นแสนป็นล้าน ล้วนเป็นความสุขทั้งนั้น แตกต่างตามแต่ละบุคคล

ทุกคนอยากมีความสุขตลอดชีวิต แต่มักตอบไม่ถูกว่า ความสุขของตนจริงๆ คืออะไร เกี่ยวกับปัญหานี้ นักจิตวิทยาของโลกเริ่มศึกษาและวิจัยประเด็น "ความสุข" มาตั้งแต่เมื่อทศวรรษ 1960 พบว่า ความสุขมาจาก 3 ด้านคือ คุณภาพชีวิต สุขภาพทางจิตใจและสภาพคนชราในสังคม ซึ่งรวมถึงสภาพการทำงาน รายได้ส่วนตัว ระดับการศึกษา และชีวิตหลังแต่งงาน ตลอดจนค่านิยม ความเคยชินในการดำรงชีวิต นอกจากนี้ยังมีปัจจัยทางการเมือง เช่นสิทธิทางประชาธิปไตยและโอกาสการมีส่วนร่วมกิจการบ้านเมือง

แต่ความสุขกับรายได้มากน้อยอาจไม่ตรงกัน บางคนมีรายได้ไม่มากนัก แต่รู้สึกมีความสุขมาก ซึ่งบางทีเศรษฐีผู้มั่งคั่งกลับรู้สึกวิตกกังวลตลอดเวลา เช่นดัชนีความสุขของชาวจีน ในช่วง 10 ปีมานี้ ลดลงเรื่อยๆ ตรงกันข้ามกับแนวโน้มการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สาเหตุสำคัญก็คือ ในระยะต้นของการปฏิรูปและเปิดประเทศของจีนนั้น เศรษฐกิจพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนยังไม่ค่อยเด่นชัดมาก ชาวจีนชอบเทียบชีวิตของตนเองกับอดีต จึงมีความพอใจชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างมาก แต่ปีหลังๆ มานี้ โครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนรูปแบบเร็วขึ้น การปฏิรูปดำเนินลุ่มลึกยิ่งขึ้น ทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนขยายกว้างขึ้น ชาวจีนมีความต้องการหลากหลายยิ่งขึ้น จึงเริ่มเปรียบเทียบกับคนอื่น จนเกิดความไม่พอใจ ทำให้เพิ่มแรงกดดันและส่งผลกระทบต่อความสุข

การมีเงินมากไม่ได้หมายความว่า มีความสุขมาก ผลการสำรวจฉบับหนึ่งปรากฎว่า ในประเทศจีน เขตที่พัฒนาที่สุดคือกรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ เมืองเซินเจิ้นและมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งเป็นเขตที่รายได้ส่วนตัวสูงที่สุด แต่ราคาบ้านก็แพงเกินไป อย่างเช่นปักกิ่ง ราคาบ้านโดยทั่วไปราคาเริ่มตั้งแต่หมื่นกว่าจนถึง 4-5 หมื่นหยวนต่อตารางเมตร การซื้อบ้านชุดหนึ่งจะต้องใช้เงินอย่างน้อย 1 ล้านหยวน ทำให้ครอบครัวต่างๆ ต้องทุกข์ใจมาก ชาวจีนที่อยู่ในเขตดังกล่าวเห็นว่า สุขภาพ อารมณ์ความรู้สึก ทรัพย์สิน ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และบรรยากาศทางสังคมเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลกระทบต่อความสุข

ส่วนดัชนีความสุขของชาวจีนที่อยู่ในมณฑลเจียงซู เสฉวน ฮกเกี้ยนและนครฉงชิ่งสูงสุดในจีน โดยครอบครัวในเขตเหล่านี้มีจำนวนครึ่งหนึ่งรู้สึกว่า มีความสุขและพอใจต่อชีวิต มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของเนเธอแลนด์เคยสำรวจดัชนีความสุขของชาวจีน 3 ครั้ง พบว่า ปี 1990 อยู่ที่ 6.64 ปี 1995 สูงขึ้นเป็น 7.08 แต่ถึงปี 2001 กลับลดลงเหลือเพียง 6.60 โดยมาตรฐานสากลคือ 1-10 และปี 2009 มหาวิทยาลัย มิชิแกนของสหรัฐอเมริกาประกาศดัชนีความสุขของจีนปรากฎว่า ชาวจีนมีความสุขลดลงอย่างต่อเนื่อง แสดงว่า เศรษฐกิจจีนพัฒนาอย่างรวดเร็วแต่ไม่สามารถประกันให้ประชาชนมีความสุขเพิ่มขึ้นไปพร้อมๆ กัน เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ที่ประชุมจิตวิทยาระหว่างประเทศของจีนครั้งแรก ประกาศผลการสำรวจว่า ในผู้รับการสำรวจจำนวน 69,000 คนนั้น 90% รู้สึกโดดเดี่ยว 46.9% ไม่ค่อยพอใจต่อชีวิตในปัจจุบัน และอีก 19.1% รู้สึกไม่พอใจมากต่อชีวิตตนเอง และยิ่งอยู่ในเมืองใหญ่ยิ่งไม่มีความสุข

ความสุขในจินตนาการของชาวจีน

ความสุขต้องเป็นความรู้สึกที่อยู่ในใจเป็นเวลานาน ไม่ใช่อารมณ์ในช่วงเวลาสั้นๆ การมีความสุขมากน้อยไม่เกี่ยวข้องกับการมีเงินมากน้อยเพียงใด และปัจจัยที่ "ขโมยความสุขไป" มีหลายประการ อย่างเช่น การชอบเปรียบเทียบกับคนอื่น คนปัจจุบันมักตกอยู่ในการแข่งขันโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าตำแหน่งงาน บ้านอยู่อาศัย หรือสินทรัพย์ เทียบไปเทียบมา เหลือเพียงแต่ความอยากได้มากยิ่งขึ้น ทำให้ไม่มีความสุขอีกต่อไป เมื่อเราไม่แสวงหาความสุขของตน มัวแต่เปรียบเทียบกับคนอื่น ความสุขก็จะไกลตัวออกไปเรื่อยๆ

การขาดเป้าหมายและจุดประสงค์ของชีวิต หลายคนขยันทำงานหนักมาหลายปี ทำแต่งานและหาแต่เงิน โดยไม่ทราบว่าเป้าหมายชีวิตตนเองคืออะไร กระทั่งไม่รู้ว่าตัวเองอยากได้อะไรจริงๆ การขาดเป้าหมาย และจุดประสงค์ทำให้ยากที่จะเกิดความสุขภาวร บางคนเมื่อถูกถามว่า มีความสุขไหม เขามักจะคิดนาน และตอบว่า "รู้สึกไม่ค่อยมีความสุข แต่ก็ไม่มีความทุกข์ เฉยๆ ชีวิตก็เรื่อยๆ เอื่อยๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น ไม่ดีใจหรือเศร้าใจ" เมื่อได้ยินคำตอบเช่นนี้ คุณจะรู้สึกอย่างไรบ้างไหม

การมองข้ามหรือไม่พยายามแสวงหาและค้นให้พบทางที่ชอบและถนัดในชีวิต ย่อมจะทำให้มองเห็นแต่ความไม่พอใจ ความลำบาก ความไม่ราบรื่น และอุปสรรคต่างๆ มองข้ามความสุขของตนแต่ไปอิจฉาความสุขของคนอื่น ก็ยิ่งจะทำให้ตัวเองหงุดหงิด กลุ้มใจและทุกข์ใจตลอดเวลาเท่านั้น ในสังคมปัจจุบัน สื่อมวลชนบางแห่ง มักรายงานเหตุการณ์ทางลบในสังคมมากเกินไป เพื่อตอบสนองความอยากทราบอยากรู้ของผู้อ่าน แต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบทางลบต่อผู้อ่านตลอดจนทั่วทั้งสังคมด้วย

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040