ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 16 พฤษภาคมนี้ ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของน่านน้ำทะเลจีนใต้เริ่มเข้าสู่ช่วงห้ามทำการประมงฤดูร้อนเป็นเวลา 2 เดือนครึ่ง การห้ามทำการประมงของจีนเป็นนโยบายอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทางทะเล นอกจากน่านน้ำทะเลจีนใต้แล้ว น่านน้ำทะเลโป๋ไห่ ทะเลจีนตะวันออกก็มีการปฏิบัติเช่นกัน นักการทูตและนักวิชาการของจีนต่างเน้นว่า ภายในช่วงห้ามทำการประมงนี้ เรือกิจการการประมงและเรือกำกับดูแลทางทะเลของจีนจะดำเนินการลาดตระเวนและปฏิบัติตามกฎหมายต่อไป ซึ่งทั้ง เรือประมงจีนและต่างประเทศ ถ้ามีการกระทำผิดกฎหมาย ล้วนจะต้องถูกลงโทษ
นางกง หยิงชุน ศาสตรจารย์ด้านกฎหมายระหว่างประเทศของสถาบันการต่างประเทศของจีนกล่าวว่า เกาะหวงเหยียนเป็นดินแดนของจีนมาตั้งแต่โบราณกาล ภายในช่วงห้ามทำการประมงนี้ เรือประมงไม่ว่าของจีนหรือต่างประเทศ ถ้าทำการประมงก็ต้องถูกปรับและลงโทษ ถ้าต่อต้านด้วยกำลังรุนแรง จะถูกลงโทษทางอาญา
"ตามข้อกำหนด ถ้ามีเรือประมงทำการประมงที่ผิดข้อบังคับ จะต้องถูกยึดสิ่งที่หามาได้ทั้งหมด และรายได้ที่ได้มาแบบผิดกฎหมาย และถูกปรับเงินต่ำกว่า 50,000 หยวน ถ้ามีเรื่องร้ายแรง ก็ต้องถูกเก็บเครื่องทำการประมง และยกเลิกใบอนุญาตด้วย สำหรับรายที่ร้ายแรงมาก เช่นมีการปฏิเสธและขัดขวางการปฏิบัติตามกฎหมาย สามารถยึดเรือประมงได้ ถ้าในกระบวนการมีการต่อต้านด้วยกำลังรุนแรง สามารถลงโทษทางอาญาได้ ดังนั้น ไม่ว่าเรือประมงของทั้งจีนและต่างประเทศ ถ้ามีการกระทำดังกล่าว ก็ต้องถูกลงโทษ ไม่มีการข้อแตกต่างใดๆ"
แม้ว่ากระทรวงการต่างประเทศจีนได้กล่าวมาหลายครั้งว่า การห้ามทำการประมงไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เกาะหวงเหยียนในปัจจุบัน แต่กระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ประกาศไม่ยอมรับคำสั่งห้ามทำการประมงของฝ่ายจีนโดยอ้างว่า คำสั่งดังกล่าวรวมถึง "เขตเศรษฐกิจ" ของฟิลิปปินส์ แต่กล่าวว่า ฟิลิปปินส์จะประกาศคำสั่งห้ามทำการประมงของตนด้วย สื่อมวลชนบางแห่งของฟิลิปปินส์จึงพากันรายงานข่าวการประสานนโยบายห้ามทำการประมงของจีนกับเหตุการณ์เกาะหวงเหยียนเข้าด้วยกัน นางถง เสี่ยวหลิง เอกอัครราชทูตจีนประจำอาเซียนเน้นว่า น่านน้ำรอบๆ เกาะหวงเหยียนเป็นพื้นที่ทำการประมงของชาวประมงจีนมาตั้งแต่สมัยโบราณ การอ้างนโยบายการห้ามทำการประมงมาขยายเหตุการณ์เกาะหวงเหยียนไม่มีความหมายใดๆ เลย
Ton/Lr