สิ่งพิมพ์ "ปัญหา 10 ข้อเกี่ยวกับเกาะหวงเหยียน" ฉบับภาษาจีนและภาษาอังกฤษที่เรียบเรียงและแปลโดยสถาบันวิจัยทะเลจีนใต้ของจีน จะมีการจัดพิมพ์และจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์มณฑลไหหลำและสำนักพิมพ์ซานหวน
วันที่ 11 มิถุนายนนี้ นายอู๋ ซื่อฉุน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทะเลจีนใต้ของจีนกล่าวกับสื่อมวลชนว่า สิ่งพิมพ์ดังกล่าวมีอักษรกว่า 3,900 ตัว ได้อธิบายถึงประวัติศาสตร์และหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่จีนมีอธิปไตยเหนือเกาะหวงเหยียนอย่างไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ และการที่ฟิลิปปินส์ยืนยันว่ามีอธิไตยเหนือเกาะหวงเหยียน ทั้งที่ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นการตีความหมายที่ผิดและใช้วิธีผิดตาม สนธิสัญญากฎหมายทางทะเลของสหประชาชาติด้วย
สิ่งพิมพ์ "ปัญหา 10 ข้อเกี่ยวกับเกาะหวงเหยียน" มีภาพประกอบ 14 ภาพ พร้อมเอกสารแผนที่ของทั้งจีนและฟิลิปปินส์ ยืนยันได้ว่า จีนมีอธิไตยเหนือเกาะหวงเหยียนอย่างไม่ต้องสงสัย
วารสารของคระกรรมการตรวจสอบแผนที่ทางน้ำและทางบกของรัฐบาลจีนฉบับแรกเมื่อปี 1935 บันทึกว่า ทะเลจีนใต้มีเกาะ 132 เกาะ รวมถึงเกาะหวงเหยียนด้วยอยู่ในแผนที่จีน เมื่อปี 1947 กรมท้องถิ่นกระทรวงกิจการภายในของจีนประกาศรายชื่อเกาะในทะเลจีนใต้ ก็รวมถึงเกาะหวงเหยียนด้วยเช่นกัน เมื่อต้นทศวรรษ 1980 ของศตวรรษที่ 20 รัฐบาลจีนจัดให้มีการตรวจสอบชื่อของหมู่เกาะทะเลจีนใต้ โดยมีการกำหนดชื่อ "เกาะหวงเหยียน" อย่างเป็นทางการเมื่อปี 1983
ก่อนปี 1997 ฟิลิปปินส์ไม่เคยมีข้อเรียกร้องเกี่ยวกับอธิปไตยในเกาะหวงเหยียน การประกอบขอบเขตของแผ่นดินฟิลิปปินส์ชัดเจนอยู่แล้ว สิ่งพิมพ์ "ปัญหา 10 ข้อเกี่ยวกับเกาะหวงเหยียน"ได้พิมพ์แผนที่ที่ทางการฟิลิปปินส์จัดพิมพ์เมื่อปี 1990 ปี 2006 และปี 2011 แสดงว่าเกาะหวงเหยียนไม่ได้อยู่ในแผนที่ของฟิลิปปิส์
ส่วนสิ่งพิมพ์ของฝ่ายที่ 3 สมุดแผนที่ของ เดอะ นิว ออกซ์ฟอร์ด ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัย ออกซ์ฟอร์ดซึ่งเป็นสำนักพิมพ์แผนที่ที่มีชื่อเสียงของโลก ก็ระบุชื่อเกาะหวงเหยียนตามสำเนียงภาษาจีนโดยตรง
In/Lr