การรับประทานอาหารอะไรและอย่างไรจะช่วยป้องกันและรักษามะเร็งได้ผลดี ?นายเฮ่อ เจี๋ย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเนื้องอกของสภาแพทยศาสตร์แห่งชาติจีนระบุว่า การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และควบคุมน้ำหนักสามารถป้องกันมะเร็งได้ การออกกำลังกายสามารถยับยั้งไม่ให้ผู้ป่วยมะเร็งที่หายแล้วไม่เป็นมะเร็งอีก โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม และผู้ที่ไม่รับประทานผักและผลไม้หรือรับประทานน้อย มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดสูงขึ้น 1.25-3.33 เท่า นักวิทยาศาสตร์พบว่า ปัจจุบัน สารเบตาแคโรทีนเป็นสารป้องกันมะเร็งปอดที่ดีที่สุด ดังนั้น เราควรรับประทานผักและผลไม้สดให้มากขึ้น
พืชเป็นผลดีต่อการป้องกันมะเร็ง
ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า อาหารที่มีบทบาทป้องกันมะเร็งส่วนใหญ่เป็นอาหารประเภทพืช เพราะอุดมด้วยสารโภชนาการ เซลลูโรสและแคลอรีต่ำ ควรรับประทานผักและผลไม้ที่ไม่ใช่ประเภทแป้งตะกอนวันละ 400-500 กรัม ผักและผลไม้เหล่านี้มีหลายสี เช่น สีแดง เขียว เหลือง ขาว ม่วง และสีส้ม รวมถึงผักใบเขียวชนิดต่างๆ อาทิบร๊อคโคลี่ (broccoli) มะเขือ หัวผักกาด มะเขือเทศ หัวหอม และหัวกระเทียม แต่ไม่รวมถึงมั่นฝรั่ง มันสัมปะหลังและเผือก ผักที่เล่ามาข้างต้นนั้น มีสารป้องกันไม่ให้โปรตีนในเซลล์และดีเอ็นเอถูกทำลาย และสามารถช่วยควบคุมน้ำหนักที่สำคัญมีส่วนช่วยป้องกันมะเร็ง
นอกจากผักและผลไม้แล้ว ยังควรรับประทานอาหารประเภทถั่วและธัญพืชที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการแปรรูปอย่างละเอียด และรับประทานอาหารแปรรูปอย่างละเอียดให้น้อยลง ซึ่งธัญพืชรวมถึง แป้งสาลี ข้าวเจ้า ข้าวโพด ข้าวเกาเหลียง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต เป็นต้น อาหารพวกนี้มีเซลลูโรสพอสมควร และมีทั้งโปรตีน ไขมัน วิตามันบี วิตามินอี และแร่ธาตุที่ต้องการน้อย (Minor element หรือ Trace element) ชนิดต่างๆ ในถั่ว โดยเฉพาะถั่วเหลือง ซึ่งมีสารป้องกันมะเร็งมากมาย อาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ตลอดจนมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก
ควรรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ
ปัจจุบัน คนที่มีน้ำหนักมากเกินควรมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ รับประทานอาหารที่ให้พลังงานและแคลอรีสูงมากเกินไป เช่น อาหารทอด ของหวาน และอาหารจานด่วน อาทิ แฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด ไก่ย่าง และมันฝรั่งทอด และเวลารับประทานอาหารเหล่านี้ มักดื่มเครื่องดื่มหวาน เช่นโค้ก น้ำโซดาหรือน้ำผลไม้ ควรดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำชาที่ไม่ใส่น้ำตาล การรับประทานอาหารแคลอรีสูงและดื่มเครื่องดื่มหวานๆ เป็นเวลานาน จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น อ้วนเกินไป ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งมดลูก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งไตและมะเร็งเต้านม
ผู้เชี่ยวชาญจึงมีข้อเสนอ 2 ประการคือ 1.ให้ผอมลงมากที่สุดเท่าที่ทำได้ในสภาพที่เป็นปกติ สำหรับชาวเอเชีย ผู้ชายรอบเอวไม่ควรเกิน 90 ซม. และผู้หญิงไม่ควรเกิน 80 ซม. ข้อที่ 2 คือ ออกกำลังกายวันละอย่างน้อย 30 นาที เช่น เดินเร็ว เล่นฟุตบอล ว่ายน้ำ หรือขี่จักรยาน ไม่ควรนั่งดูทีวีเป็นเวลานาน ข้อเสนอสำคัญอีกข้อหนึ่งคือ รับประทานเนื้อแดงให้น้อยลง รวมถึงเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแพะ เนื้อสัตว์สีแดงและหลีกเลี่ยงไม่รับประทานเนื้อแปรรูป เนื้อเหล่านี้มีไขมันสัตว์สูง รับประทานมากแล้วจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ในเนื้อแดงมีโปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี และวิตามันบี12 ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพด้วย ดังนั้น ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย ส่วนเนื้อแปรรูปมักผ่านขั้นตอนการรมควัน หรือดองให้สุก และผสมสารกันเสีย ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดมะเร็ง รับประทานให้น้อยจะดีกว่า