วันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของการถกปัญหาในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติสมัยสามัญครั้งที่ 67 นายโยชิฮิโกะ โนดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวคำปราศรัยว่า การแก้ข้อขัดแย้งอย่างสันติตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้น เป็นเจตจำนงของ "กฎบัตรสหประชาชาติ" และหลักการที่ประชาคมโลกยอมรับได้ โดยหวังว่าจะอธิบายข้อขัดแย้งกันด้านดินแดนและน่านน้ำที่ตนเองก่อเกิด โดยเจาะจงต่อเรื่องนี้ นายฉิน เกา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนกล่าวว่า ควรแก้ไขปัญหาพิพาทดินแดนตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และกฎหมาย ประเทศบางประเทศมองข้ามประวัติศาสตร์และกฎหมาย แทรกแซงอธิปไตยเหนือดินแดนของประเทศอื่น ท้าทายระเบียบโลกอย่างร้ายแรง แต่ยังถือกฎระเบียบระหว่างประเทศเป็นข้ออ้าง นับเป็นปฏิบัติการที่โกหกตัวเองและคนอื่น ซึ่งเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และสื่อมวลชนบางประเทศต่างได้แสดงทัศนะและท่าทีโต้แย้งท่าทีของนายโยชิฮิโกะ โนดะ เช่นกัน
เมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา สำนักข่าวยอนฮัปของเกาหลีใต้รายงานว่า นายโยชิฮิโกะ โนดะ กล่าวในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติว่า เำพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ ควรส่งเสริมลัทธิการปกครองด้วยกฎหมาย แม้ว่านายโยชิฮิโกะ โนดะไม่ได้เอ่ยถึงหมู่เกาะทาเกชิมะหรือด็อกโด (ภาษาเกาหลี) และเกาะเตี้ยวอี๋ว์ออกมาโดยตรง แต่คำปราศรัยของญี่ปุ่นหมายถึงเกาหลีใต้กับจีน
หนังสือพิมพ์เหลียนเหอเจ่าเป้าของสิงคโปร์รายงานเมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมาว่า คำปราศรัยของนายโยชิฮิโกะ โนดะ แสดงให้เห็นว่า ญี่ปุ่นไม่มีความคิดที่จะอ่อนข้อในปัญหาเกาะเตี้ยวอี๋ว์ ซึ่งท่าทีเช่นนี้จะก่อเกิดการตอบโต้ที่รุนแรงขึ้นอีกของจีน
นายสวี เหยี่ย ผู้ช่วยผู้อำนวยการคณะกรรมธิการกิจการกัมพูชา-จีนของกัมพูชา กล่าวว่า จีนมีอธิปไตยที่โต้เถียงไม่ได้ในเกาะเตี้ยวอี๋ว์และเกาะบริวาร คำพูดที่ไม่สมเหตุสมผลของนายโยชิฮิโกะ โนดะ และการ "จัดซื้อ" เกาะของรัฐบาลญี่ปุ่นนั้น เป็นการทำลายกฏเกณฑ์ระหว่างประเทศอย่างรุนแรง ปฏิบัติการใดๆ โดยลำพังฝ่ายเดียวของรัฐบาลญี่ปุ่นนั้น ล้วนเป็นปฏิบัติการที่มิชอบด้วยกฎหมาย ไร้ผลบังคับ และไม่มีประโยชน์ ไม่สามารถเปลี่ยนสภาพความเป็นจริงที่เกาะอี๋ว์เป็นดินแดนของจีนได้แม้แต่นิดเดียว
ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ได้ตีพิมพ์บทความวิจารณ์ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า ในกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ และทัศนะทางประวัติศาสตร์ เกาะเตี้ยวอี๋ว์เป็นดินแดนของญี่ปุ่น และย้ำหลายต่อหลายครั้งว่า นี่เป็นความเป็นจริงที่ไม่มีข้อขัดแย้ง แต่รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งใจมองข้ามสภาพความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์อย่างหนึ่งว่า การยึดครองเกาะเตี้ยวอี๋ว์ของญี่ปุ่นในปี 1895 นั้นเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เกาะเตี้ยวอี๋ว์ไม่ใช่ของเชลยศึกในสนธิสัญญาประการใดประการหนึ่ง บทความดังกล่าวโต้แย้งว่า เอกสารสองฉบับที่ญี่ปุ่นใช้อ้างถึงบ่อยๆ นั้นต่างไม่น่าเชื่อถือ
Yim/Ldan