"ระบำไม้ต่อขา" บางทีก็เรียกว่า "ระบำยางเกอต่อขาไม้" เป็นระบำพื้นเมืองที่เผยแพร่ในทั่วประเทศจีน เวลาทำการแสดงจะต้องเอาไม้มาต่อที่เท้าให้สูงขึ้น ระบำชนิดนี้มีมาช้านาน เริ่มต้นจากการแสดงในงิ้วร้อยชนิดจากสมัยโบราณ โดยมีหลักฐานจากเป็นหินแกะสลักในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ ระบำไม้ต่อขาแบบเหลียวซี ตามเอกสารโบราณระบำไม้ต่อขาที่เหลียวซีสืบย้อนไปได้กว่า 200 ปี
เอกลักษณ์ของระบำไม้ต่อขาเหลียวซีคือ "สูง" ไม้ที่ใช้สำหรับต่อขาสั้นที่สุด 90 เซนติเมตร และสูงสุด 240 เซนติเมตร เวลานักแสดงจะต่อขาไม้ต้องขึ้นไปนั่งบนหลังคาบ้าน ไม้ที่ใช้ต่อขาทั้งสูงและมีความยืดหยุ่น
นักแสดงต้องโบกแขนไปมาอยู่ตลอดเวลาเพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย จึงกลายเป็นลีลาท่ารำพื้นฐานของระบำชนิดนี้ เนื่องจากขามีลักษณะสูงจึงมีการแสดงฝีมือแบบการก้าวข้าม การนั่งยองๆ และบิดตัว และทำกิริยาท่าทางที่แสดงความสวย เย้ายวน หึง และท่าน่ารักๆ โดยรวมมีความสง่างาม บรรยากาศก็เต็มไปด้วยความคึกคัก แสดงให้เห็นถึงนิสัยร่าเริง ตรงไปตรงมา และใจกว้างของชาวบ้านในอำเภอเหลียวซี(ภาคตะวันตกของมณฑลเหลียวหนิง)
ระบำไม้ต่อขาเหลียวซีมีวิธีสืบทอดที่พิเศษ หนึ่งคือสืบทอดในตระกูล เช่น หมู่บ้านซานถุน มีนักแสดงชื่อจู สิ้วเฟิง(เกิดเมื่อ ค.ศ.1840) เป็นรุ่นแรกและได้สืบทอดต่อมาถึงรุ่นที่ 5 สองคือสืบทอดด้วยวิธีการถ่ายทอด เช่นหมู่บ้านฝั้นถุน มีนักแสดงชื่อ จู โหย่วหยู(เกิดเมื่อ ค.ศ.1864) เป็นคนรุ่นแรกและสืบทอดมาเป็นรุ่นที่ 4 สามคือเรียนเอง เนื่องจากระบำชนิดนี้ได้รับความนิยมจากชาวบ้าน คนที่ชื่นชอบก็จะฝึกเอาเองจากการชมการแสดง และในที่สุดก็กลายเป็นนักแสดงหน้าใหม่ ระบำไม้ต่อขาเหลียวซีมีคุณค่าทางศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่ง ได้รับความนิยมอย่างสูงและมีการเผยแพร่ต่อกันไปในหมู่ประชาชนทั้งภายในและนอกมณฑล ระบำไม้ต่อขาแบบขู่สุ่ย ระบำไม้ต่อขาที่อำเภอหย่งเติง มณฑลกานซู่ มีชื่อว่า "กาวกาวเชี่ยว" เป็นการแสดงเก่าแก่ที่สืบย้อนหลังไปได้ประมาณ 700 ปี ในยุคปลายราชวงศ์หยวนและต้นราชวงศ์หมิง เป็นศิลปะพื้นเมืองที่ทำการแสดงเฉพาะในงานวัดที่จัดขึ้นช่วงเทศกาล "มังกรเงยหน้า" ในวันที่ 2 เดือน 2 ตามจันทรคติ นักแสดงจะแต่งชุดในการแสดงงิ้ว วาดภาพบนใบหน้าตามงิ้วฉิน ถืออุปกรณ์การแสดง ต่อขาไม้ให้สูง เรียงกันเป็นแถว และเดินตามจังหวะเสียงกลองใหญ่ ไม้ที่ใช้ต่อขามีความยาว 3-3.3 เมตร จึงนับเป็นการแสดงอันดับหนึ่งของประเทศ (Ton/Ping)