ในสายตาของนายอับดุล มาจิด อดีตเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำจีน นายกสมาคมมิตรภาพมาเลเซีย-จีนนั้น แนวคิดการพัฒนาตามหลักวิทยาศาสตร์มีความสำคัญมาก ในระยะแรกของการพัฒนาควรมุ่งให้ความสำคัญกับจีดีพี ซึ่งจีนทำได้ดีมาก แต่เมื่อเศรษฐกิจเติบโตแล้ว ก็ควรมุ่งแก้ปัญหาความไม่สมดุลด้านการพัฒนาและปัญหาอื่นๆ เช่น การพัฒนาของเขตริมฝั่งทะเลกับดินแดนชั้นในที่ไม่สมดุลกัน ซึ่งจีนทำได้ดีมากเช่น โดยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาได้เพิ่มความสำคัญกับการพัฒนาภาคตะวันตกมากขึ้น
ส่วนนายฟัม แวน ลินห์ รองผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามระบุว่า สาเหตุหลักประการหนึ่งที่จีนได้รับผลสำเร็จที่น่าจับตามองก็คือ พรรคและรัฐบาลของจีนปฏิบัติตามแนวคิดการพัฒนาตามหลักวิทยาศาสตร์ให้บรรลุผล
อย่างจริงจัง โดยได้กำหนดและปฏิบัติตามนโยบายการเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจให้คล้อยตามแนวโน้มการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก ทำให้เศรษฐกิจพัฒนาจากระดับกว้างสู่ระดับลึก จากแบบหยาบๆ สู่แบบรวบยอดและมีประสิทธิผลสูง มุ่งเปลี่ยนรูปแบบท่ามกลางการพัฒนาอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ และส่งเสริมการพัฒนาด้วยการเปลี่ยนรูปแบบ ปัจจัยที่อยู่ระดับลึกกว่านั้นคือ ผนวกกับสภาวะการพัฒนาของจีนตามความเป็นจริง พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้สร้างระบบทฤษฎีอย่างเป็นระบบชุดหนึ่งขึ้น
หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล เดย์ลี ของอินโดนีเซีย ฉบับประจำวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้ตีพิมพ์บทนำระบุว่า รายงานที่แถลงในที่ประชุม "สมัชชา 18" ย้ำแนวคิดการพัฒนาตามหลักวิทยาศาสตร์ นั่นก็คือ ในเป้าหมายการพัฒนา มุ่งสร้างสังคมที่พอกินพอใช้ทุกด้าน ไปพร้อมๆ กับต้องสร้าง "จีนแสนสวยงาม" ให้การพัฒนากับการอนุรักษ์ระบบนิเวศผสมผสานกัน และหลีกเลี่ยงไม่ให้การพัฒนาทำลายสิ่งแวดล้อม สำหรับอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนาเช่นกัน แผน "จีนแสนสวยงาม" ที่เสนอขึ้นในที่ประชุม "สมัชชา 18" ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงเป็นแบบอย่างการเรียนรู้ที่ดีในการพัฒนาเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย
(YIM/LING)