นายอัลเบิร์ต เดล โรซาริโอให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว "ไฟแนนเชียล ไทมส์" ของอังกฤษในวันเดียวกันว่า ฟิลิปปินส์มีความยินดีอย่างยิ่งต่อกรณีญี่ปุ่นจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญด้านการเสริมสร้างยุทโธปกรณ์ให้มีความเข้มแข็งเกรียงไกรยิ่งขึ้น ฟิลิปปินส์กำลังแสวงหาพันธมิตรการสร้างดุลอำนาจในภูมิภาคนี้ มีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะร่วมเป็นพันธมิตรการสร้างดุลที่สำคัญอีกประเทศหนึ่ง ถ้อยแถลงดังกล่าวของรัฐมนตรีการต่างประเทศฟิลิปปินส์ได้รับการยืนยันจากนายราอูล เฮอร์นันเดซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ โดยแถลงว่า "รัฐบาลฟิลิปปินส์มีความยินดีมากต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นยกระดับขึ้นเป็นกองกำลังทหารประจำการ ที่จะใช้ปฏิบัติการได้อย่างเสรีกว่าเดิม และมีความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจทางการทหารของเอเชีย"
ในความเป็นจริงแล้ว ฟิลิปปินส์ยังชักชวนประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ร่วมกันด่วงดุลจีนมาโดยตลอด ก่อนหน้านี้นายอัลเบิร์ต เดล โรซาริโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์เคยระบุว่า ฟิลิปปินส์จะไม่ยอมรับการแก้ปัญหาทะเลจีนใต้แบบทวิภาคี และเมื่อเร็วๆ นี้ ฟิลิปปินส์จะชักชวนมาเลเซียและบรูไนเข้าร่วมการประชุม โดยฟิลิปปินส์จะเป็นเจ้าภาพจัดงานในเดือนธันวาคมนี้ พร้อมกับประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็น 4 ประเทศที่ระบุว่ามีอธิปไตยเหนือทะเลจีนใต้ เพื่อร่วมกันหารือแนวทางเดินหน้าแผนการแก้ไขปัญหาทะเลจีนใต้แบบพหุภาคี แต่รัฐบาลมาเลเซียและบรูไนยืนยันอย่างชัดเจนว่าจะไม่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ทั้งนี้แสดงว่า ฟิลิปปินส์ไม่ได้รับการตอบสนองจากประเทศอื่นหรือไม่ก็ไม่ได้รับผลตามคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า
นอกจากจะชักชวนประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ฟิลิปปินส์ยังแสวงหาพันธมิตรในแดนไกลเพื่อถ่วงดุลจีน ฟิลิปปินส์ได้ระบุหลายครั้งว่ายินดีที่สหรัฐอเมริกากลับคืนสู่เอเชียตะวันออกอีกครั้ง ส่วนในทางปฏิบัตินั้น รัฐบาลฟิลิปปินส์มีความเห็นชอบให้เรือรบสหรัฐฯ เข้าเทียบท่าเรือมากขึ้นและจัดการซ้อมรบร่วมมากขึ้น สำหรับฟิลิปปินส์ ซึ่งเพิ่งผ่านพ้นภัยพิบัติธรรมชาติพายุไต้ฝุ่น "โบฟา" มาหมาดๆ ดูเหมือนไม่ได้มุ่งภารกิจการบูรณะสร้างสรรค์ประเทศใหม่หลังภัยพิบัติ และลืมการรุกรานจากญี่ปุ่นเป็นเวลากว่า 3 ปีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่กลับสนับสนุนให้ญี่ปุ่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งนับเป็นอีกปฏิบัติการหนึ่งเพื่อมุ่งถ่วงดุลอำนาจจีน
(YING/LING)