โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงสร้างความเจริญให้แก่ภูมิภาคนี้ (1)
  2013-07-03 17:23:37  cri

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอเดินทางไปทำข่าวที่เมืองชิงเต่าเกี่ยวกับการประชุมสัมมนาเขตการค้าเสรีในภูมิภาคเอเชียโดยสำนักเลขาธิการฟอรัมเอเชียโป๋อ๋าวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ ดร.สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ อาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเชิญมากล่าวปาถกฐาในประเด็นโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ Greater Mekong Subregion (GMS)

โครงการ GMS เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน ตั้งแต่ปี 1992 โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชีย เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก โครงการ GMS มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ สนับสนุนการจ้างงานและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น

ช่วงการประชุม ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอได้โอกาสสัมภาษณ์ดร.สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ถึงความเป็นมา และความคืบหน้าสำคัญของโครงการ GMS ซึ่งดร.สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ กล่าวว่า

ในสมัยสงครามเย็น ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงต่างคนต่างอยู่ ไม่มีการติดต่อกัน หลังสงครามเย็นจบ เราก็มานั่งดู บอกว่า ถ้าเราไม่มีกำแพงขวางกั้นระหว่างกันในเชิงของต่างระบอบ เราก็จะสามารถมาพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมร่วมกัน พอมองเห็นจบ เราก็บอกว่า ทำไมไม่เปลี่ยนสนามรบมาเป็นสนามการค้า จริงๆ ความคิดเห็นนี้มาก่อนธนาคารการพัฒนาแห่งเอเชียนิดหนึ่ง เรามีความรู้สึกว่า ต้องทำสะพานแห่งนี้ เพราะมีความเชื่อมกัน

เราเชื่อว่า ต้องให้ประเทศที่เราไม่เคยติดต่อให้มาติดต่อกัน และการติดต่อกันได้มันก็ต้องผ่านการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ต้องทำถนน ทำการขนส่ง โทรคมนาคม ผู้คนติดต่อไปมาได้ง่ายขึ้น แล้วเราก็จะคุยกันง่ายขึ้น แต่ตอนแรก รัฐบาลไทยก็ไม่แน่ใจ ไม่รู้จะทำกันอย่างไร ถึงแม้ว่าเมืองไทยจะคุยได้ แต่เมืองไทยประเทศเดียวคงไม่พอ เพราะในอนุภูมิภาคนี้มีหลายประเทศ ประเทศเหล่านี้อาจจะมีความห็นต่างกัน เช่น เวียดนาม เราก็ข้ามไปคุยลำบาก

ต่อมา ธนาคารการพัฒนาแห่งเอเชียก็มองเห็นนโยบายของไทยที่จะมีการเชื่อมติดต่อกับประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาคนี้ และบอกว่า นี่เป็นนโยบายที่ดี เพราะฉะนั้น ธนาคารการพัฒนาแห่งเอเชียก็รับปากจะช่วยจัดให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้มีการเชื่อมต่อกัน ประเทศในอนุภูมิภาคนี้ อย่างประเทศลาว ถ้าไม่มีการเปิดประเทศ ลาวก็คงจะขนส่งสินค้าเข้าออกประเทศลำบาก ติดโน่นติดนี่ ประเทศกัมพูชาที่ช่วงเวลานั้นเพิ่งผ่านสงครามมาก็ต้องทำโครงการสิ่งปลูกสร้างพื้นฐาน มณฑล หยูนหนาน และเขตปกรองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซีเป็นพื้นที่ตอนในของจีน และเป็นพื้นที่ค่อนข้างยากจนในสมัยนั้น ถ้าเปิดโอกาสให้ชุมชน เมืองเล็กๆ ที่กระจัดกระจายให้เชื่อมกัน ค้าขายกัน คงจะช่วยทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ด้วยสาเหตุดังกล่าว ธนาคารการพัฒนาแห่งเอเชียก็เข้ามาแสดงบทบาท และเห็นว่าจะต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน เช่น สะพาน ถนน โทรคมนาคม พลังงาน ประเด็นเหล่านี้มันก็เริ่มเข้ามา ต่อมา ก็ดูเรื่องการค้า การลงทุน และการอำนวยความสะดวก เราไม่ได้ดูเรื่องบูรณาการเปิดเสรีการค้าเต็มที่ แต่บอกว่า เราจะอำนวยความสะดวกการค้ากันอย่างไร เช่น การตรวจสอบสินค้าที่พรมแดน ศุลกากร อะไรต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยให้พื้นที่เหล่านี้ขยายโอกาสแห่งการพัฒนาตัวของมันเอง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040