ในครึ่งแรกของปีนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจของยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดการส่งออกสำคัญจะฟื้นฟูอย่างช้าๆ แต่เศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงรักษาแนวโน้มการเติบโตขาขึ้นต่อไป
ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) แถลงรายงานเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่าได้ปรับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศเศรษฐกิจใหญ่ 5 อันดับแรกของอาเซียนในปีนี้และปีหน้าให้ต่ำลงอยู่ที่ร้อยละ 5.2-5.6
นายซ่ง เหลยเหล่ย นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารพัฒนาเอเชียให้สัมภาษณ์ว่า ครึ่งหลังของปีนี้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะชะลอตัวต่อไป แต่เนื่องความต้องการภายในเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับความต้องการภายนอกภูมิภาค ดังนั้นจึงเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงรักษาแนวโน้มการเติบโตต่อไป
ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นมีหลายประการ รวมถึง การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีขั้นตอน ประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ตลอดจนความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอาเซียนกับประเทศหุ้นส่วนการค้าเสรีที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
นายเจ่า หงหลิน นักวิจัยสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์ของเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลกแห่งสภาวิทยาศาสตร์และสังคมของจีนกล่าวว่า กล่าวโดยทั่วไปว่า ช่วงเวลาที่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000 -5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตขึ้นเร็วที่สุดและโครงสร้างทางเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดของประเทศนั้นๆ เพราะระบบขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลง จากการผลิตดั้งเดิม เช่นเกษตรกรรมเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรม หรือจากอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยแรงงานเป็นหลักเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีมากขึ้น เช่นอุตสาหกรรมพลังงานปรมาณู อุตสาหกรรมการผลิตยาเป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีปัจจัย อาเซียนทำการค้ากับประเทศหุ้นส่วนการค้าเสรีมากขึ้น โดย เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา การเจรจาเกี่ยวกับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้หรือ RCEP รอบแรกจัดขึ้นที่บรูไน ซึ่งนายซ่ง เหลยเหล่ยเห็นว่า RCEP มีส่วนทำให้ความร่วมมือระหว่างประเทศสะดวกและเป็นผลดีขึ้น มาตรการการค้าเสรีบางประการอาจส่งผลกระทบต่อประเทศด้อยพัฒนาบางประเทศ แต่ถ้าประเทศเหล่านี้เข้าร่วมการเจรจาเขตการค้าสรีได้ อย่างน้อยจะทำให้การเจรจาพัฒนาไปทางทิศทางที่เป็นผลดีต่อประเทศตนเอง
Nune/Lr