"แผนปฏิบัติการป้องกันและบำบัดมลพิษในอากาศ" ประกอบด้วยมาตรการ 35 ข้อ โดยครอบคลุมถึงการดัดแปลงโครงสร้างด้านพลังงาน การควบคุมปริมาณรถยนต์ การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม มาตรการรับมือแบบฉุกเฉิน ฯลฯ ทั้งหมด 10 ด้าน ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการด้านนี้และสื่อมวลชนที่ขึ้นชื่อในจีนล้วนตีความว่า รัฐบาลกลางตั้งใจใช้มาตรการแบบอเนกประสงค์เพื่อคลี่คลายภาวะยากลำบากอันเกิดจากมลพิษทางอากาศ
แผนปฏิบัติการฉบับนี้เสนอว่า จนถึงปี 2017 ทำให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองในเมืองลดต่ำลง 10% และเพิ่มจำนวนวันที่มีคุณภาพอากาศดีให้มากขึ้นปีต่อปี ที่สำคัญ ประกันให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองในเขตปักกิ่ง-เทียนจิน-เหอเป่ย เขตดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำฉางเจียง และเขตดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำจูเจียง ลดต่ำลงประมาณ 25% 20% และ 15% ตามลำดับ เฉพาะที่กรุงปักกิ่ง ต้องควบคุมให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองในอากาศให้อยู่ในระดับราวๆ 60 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร์
นานมาแล้วที่ต่างคนต่างเห็นว่า รถยนต์เป็น "หัวหน้าอาชญากรและความเสียหายรุนแรงอันดับหนึ่ง" ที่ก่อให้เกิดสภาพอากาศเลวร้ายเต็มไปด้วยหมอกควันพิษ นายโจว จี้ รองผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยประชาชนแห่งประเทศจีนชี้ให้เห็นว่า ไม่เพียงแต่อัตราการซื้อและใช้รถของคนจีนที่ทำให้ปัญหาโดดเด่นขึ้นมาเท่านั้น สาเหตุที่สำคัญที่สุดคือ การใช้รถยนต์แบบมีความถี่สูงเกินควร ยังผลให้มลภาวะทางอากาศในเมืองขนาดใหญ่ของจีนรุนแรงเป็นพิเศษ ขณะที่
"แผนปฏิบัติการป้องกันและบำบัดมลพิษในอากาศ" ที่ประกาศล่าสุดนี้ ได้ระบุอย่างชัดเจนเกี่ยวกับรายละเอียดมากมายในด้านการควบคุมบริหารและจัดการมลพิษที่เกิดจากอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเสนอว่า จนถึงปี 2017 ต้องบังคับให้เลิกใช้หรือทำลายบรรดารถยนต์ที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน ควบคุมจำนวนรถในเมืองขนาดใหญ่พิเศษ อย่างปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้และกว่างโจวอย่างเข้มขวด และเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาไหม้เชื้อเพลิงของรถให้สูงขึ้น จนสามารถเทียบกับมาตรฐานที่ 5 ของสหภาพยุโรปก่อนสิ้นปี 2017
คาดว่า "แผนปฏิบัติการป้องกันและบำบัดมลพิษในอากาศ" ต้องใช้งบประมาณ 1.75 ล้านล้านหยวน และสามารถกระตุ้น GDP ให้เติบโตมากกว่า 2 ล้านล้านหยวน โดยอุตสาหกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดมลพิษในอากาศจะครองสัดส่วนในงบประมาณดังกล่าวเกิน 1 ล้านล้านหยวน
YIM/FENG