สำนักข่าวซินหวารายงานว่า เที่ยวบิน MH370 ขาดการติดต่อเป็นเวลา 6 วันแล้ว ยังไม่รู้ว่าผู้โดยสารพร้อมลูกเรือ 239 คนซึ่งรวมถึงชาวจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซียปลอดภัยหรือไม่ การที่หลายประเทศช่วยกันค้นหาเที่ยวบิน MH370 อย่างเร่งด่วนเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน อุบัติเหตุครั้งนี้สะท้อนแนวโน้มความร่วมมือในทะเลจีนใต้จะต้องยกระดับขึ้นในอนาคต
จีน มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และสหรัฐฯ ได้ทุ่มเทกำลังทหารค้นหา และกู้ภัยที่บริเวณน่านน้ำทะเลจีนใต้ทั้งทางอากาศ และในน้ำ
นายฉวี่ ซิง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยกิจการระหว่างประเทศจีนกล่าวว่า เหตุการณ์ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศมีความจำเป็น และเร่งด่วนอย่างยิ่ง
นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนเคยเสนอในที่ประชุมผู้นำจีน-อาเซียนเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วว่า ควรกำหนด "แผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านการกู้ภัยจีน-อาเซียน" ส่งเสริมการติดต่อกับศูนย์ประสานงานว่าด้วยการกู้ภัยเพื่อมนุษยธรรมอาเซียน จีนยินดีที่จะลงทุน50 ล้านหยวนในการกระชับความร่วมมือด้านการป้องกัน และกู้ภัย เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2011 ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนตั้งกองทุนความร่วมมือทางทะเลจีน-อาเซียน โดยจัดสรรงบ 3,000 ล้านหยวน ซึ่ง17 โครงการแรกก็รวมถึงความร่วมมือด้านการค้นหากู้ภัยทางทะเล
นับตั้งแต่เกิดคลื่นยักษ์สึนามิปี 2004 เป็นต้นมา ประเทศเอเชียตะวันออก และตะวันออกเฉียใต้มีจิตสำนึกในการป้องกัน บรรเทาภัยมากขึ้น และมีความปรารถนาในการร่วมมือมากขึ้น กลายเป็นโครงการร่วมมือที่สำคัญยิ่งระหว่างจีนกับอาเซียน
ขณะเดียวกัน ข้อพิพาทเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือดินแดนเป็นอุปสรรคต่อการสร้างกลไกความเชื่อถือกันระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทะเลจีนใต้ นายฉวี่ ซิงกล่าวว่า การสร้างความเชื่อมั่นซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา แต่ความร่วมมือระหว่างประเทศไม่ควรรอจนกระทั่งทุกฝ่ายมีความเชื่อมั่นร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านการป้องกัน และกู้ภัยซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตมุนษย์นั้น ควรเริ่มต้นก่อน
(In/cici)