เมื่อวันที่ 30 มีนาคม รัฐบาลฟิลิปปินส์ยื่นให้ศาลสหประชาชาติตัดสินกรณีพิพาททะเลจีนใต้โดยลำพังฝ่ายเดียว นักวิชาการหลายประเทศเห็นว่า พฤติกรรมบังคับให้สากลโลกมาตัดสินข้อพิพาททวิภาคของฟิลิปปินส์นั้น ย่อมทำลายความสัมพันธ์จีน-ฟิลิปปินส์ และไม่มีส่วนช่วยต่อการแก้ปัญหา ถ้าไม่ได้รับความเห็นชอบจากประเทศคู่กรณี บังคับให้เข้าร่วมกระบวนการตัดสินของสากลโลกหรือขึ้นศาลโดยตรงไม่ได้ นี่เป็นหลักการพื้นฐานที่ปฏิบัติมานานแล้วที่ระบุไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ
ศาสตรจารย์ทัง จือหมิน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยจีน-อาเซียนของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ชี้ว่า พฤติกรรมที่ยื่นขอให้ศาลยูเอ็นมาตัดสินข้อพิพาททะเลจีนใต้ไม่สมเหตุสมผล การแก้ข้อพิพาทนี้ต้องกลับมาใช้ปฏิญญาว่าด้วยแนวทางปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ ให้ทุกฝ่ายแสวงหาแผนการแก้ปัญหาผ่านการเจรจา พฤติกรรมของฟิลิปปินส์จะไม่เป็นผลดีต่อการสร้างสันติภาพสากล ทำให้เกิดสถานการณ์ตึงเครียดได้ง่าย ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการแก้ข้อพิพาทและการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-ฟิลิปปินส์
ศาสตรจารย์ซก ตุ๊ด อธิการบดีมหาวิทยาลัยแขมมะรั่ก ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของกัมพูชาเห็นว่า พฤติกรรมบังคับของฟิลิปปินส์มีแต่จะทำให้ความสัมพันธ์จีน-ฟิลิปปินส์เลวร้ายลงอีก จีนเป็นประเทศใหญ่ มีหลากหลายช่องทางหรือวิธีการสำหรับแก้ข้อพิพาททวิภาคีทางพรมแดน เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องให้สากลโลกมาตัดสิน
ดร.ฮัน แจ จิน นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจเกาหลีใต้เห็นว่า พฤติกรรมของฟิลิปปินส์ย่อมเป็นผลเสียต่อการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-ฟิลิปปินส์ในระยะยาว และอาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนสองประเทศ แถมจะกระทบความร่วมมือทางเศรษฐกิจทวิภาคี มองในแง่นี้ ยิ่งรู้สึกว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์ไร้วิสัยทัศน์และวางแผนผิดพลาด
IN/FENG