สำหรับผู้รับสินบนนั้น ร่างกฎหมายอาญาฉบับแก้ไขเพิ่มเติมระบุว่า จะพุ่งเป้าไปยังภัยเสี่ยงทางสังคมมากกว่า โดยจะยกเลิกการกำหนดโทษตามเกณฑ์จำนวนเงินสินบนเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ทุจริตคอรัปชั่นที่ทำให้ประเทศชาติและประชาชนประสบความเสียหายร้ายแรง จะต้องโทษประหารชีวิตเหมือนเดิม ส่วนผู้ให้สินบน ก็อยู่ในข่ายต้องมุ่งปราบปรามเช่นกัน
นายหลี่ ซื่อสือ ประธานคณะกรรมาธิการงานระบอบกฎหมาย คณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติระบุขณะรายงานต่อคณะกรรมการประจำสภาฯ ว่า
"สำหรับการรับสินบนและคอรัปชั่นนั้น กำหนดจะลบทิ้งเกณฑ์จำนวนเงินสินบนที่เป็นตัวๆ โดยจะแก้ไขเพิ่มเติมเป็นกำหนดโทษ 3 ขั้นตามเกณฑ์ 3 อย่าง ได้แก่ จำนวนค่อนข้างมากหรือคดีความค่อนข้างหนัก จำนวนมหาศาลหรือคดีความร้ายแรง จำนวนมหาศาลพิเศษหรือคดีความร้ายแรงพิเศษ ซึ่งจะสงวนโทษประหารชีวิตสำหรับผู้รับสินบนจำนวนมหาศาลพิเศษและทำให้ประเทศชาติและประชาชนประสบความเสียหายร้ายแรงพิเศษ"
ทั้งนี้ ศ.หง เต้าเต๋อ มหาวิทยาลัยการเมืองและกฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอาญาเห็นว่า หากกำหนดโทษตามเกณฑ์จำนวนเงินสินบนอย่างตายตัว จะทำให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายยากที่จะปรับมาตรฐานตามผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม พร้อมกันนี้ หากพิจารณาเกณฑ์จำนวนเงินอย่างเดียว ก็ยากที่จะเห็นภัยเสี่ยงของคดีความต่อสังคมทุกด้าน ดังนั้น จึงต้องพิจารณาเกณฑ์ผลกระทบต่อสังคมมากขึ้น
อีกประเด็นที่ว่า "มุ่งปราบผู้รับสินบน โดยมองข้ามผู้ให้สินบน" ก็มีการถกเถียงกันอย่างร้อนแรง ยกตัวอย่างเช่นกรณีนี้เมื่อหลายปีก่อน นายจาง อี้ซุ่น อดีตนายกเทศมนตรีเมืองหลานโจว ผู้ต้องโทษรับสินบน ย้อนถามในศาลว่า "ผู้ให้สินบนไปไหนกันหมด" นั้น ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดของสังคม ร่างกฎหมายอาญาฉบับแก้ไขเพิ่มเติมในครั้งนี้ระบุว่า จะปราบปรามผู้ให้สินบนอย่างเฉียบขาดเช่นกัน มีแต่ผู้ให้สินบนชนิดที่ผิดกฎหมายเบาบาง ชนิดรายงานความผิดต่อหน่วยงานและมีส่วนช่วยต่อการคลี่คลายคดีร้ายแรง หรือชนิด "สารภาพความผิดให้สินบนด้วยความสมัคใจ" และสร้างคุณงามความดีอื่นๆ เท่านั้น จึงจะได้รับการยกโทษ พร้อมกันนี้ ร่างกฎหมายฯ ยังเพิ่มข้อกำหนดว่า การให้สินบนแก่ญาติสนิทของพนักงานรัฐ ก็เข้าข่ายผิดกำหมายเช่นกัน
(TOON/LING)