เมื่อเดือนมีนาคมปี 2014 ที่ผ่านมา จีนและอังกฤษบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการตั้งธนาคารชำระค่าการค้าด้วยเงินหยวนในกรุงลอนดอน เดือนกรกฏาคม จีนประกาศตั้งธนาคารชำระค่าการค้าด้วยเงินหยวนที่กรุงลักเซมเบิร์กและกรุงปารีส รวมถึงฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ กรุงโซลและ เมืองแฟรงค์เฟิร์ตของเยอรมนี ตลอดจนนครซิดนีย์ กาตาร์ แคนาดาและมาเลเซีย เราได้เห็นเค้าโครงของเครือข่ายการชำระด้วยเงินหยวนรอบโลกจากเอเชีย - แปซิฟิก ยุโรป ตะวันออกกลางและทวีปอเมริกาชัดเจนยิ่งขึ้น
เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2014 จีนและแคนาดาได้ลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างสองประเทศวงเงิน 2 แสนล้านหยวน จนถึงขณะนั้น จีนและธนาคารกลางของต่างประเทศกว่า 20 แห่งได้ลงนามข้อตกลงลักษณะนี้กว่า 20 ฉบับ วงเงินเกือบ 3 ล้านล้านหยวน และก่อนหน้านี้ อังกฤษเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศตะวันตกที่จำหน่ายพันธบัตรจีน
นาย พอล ซีอีโอ ธนาคาร HSBC สาขาแคนาดากล่าวว่า กระบวนการเป็นสกุลเงินสากลของเงินหยวนเป็นหนึ่งของเหตุการณ์การเงินที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 21 ปัจจุบัน แคนาดากลายเป็นศูนย์ค้าขายและลงทุนด้วยเงินหยวนแห่งแรกของทวีปอเมริกา การนี้จะทำให้วงการธุรกิจและเศรษฐกิจของชาติได้รับประโยชน์อย่างมาก
คำพูดดังกล่าวคงเป็นคำอธิบายได้ว่า ทำไมเมืองต่างๆ ของโลกยินดีที่จะประกอบกิจการเงินหยวนนอกแผ่นดินใหญ่จีน เหตุเบื้องต้นคือ จีนเป็นประเทศใหญ่ทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก และประเทศที่มีการค้าใหญ่ที่สุดของโลก และกำลังบทบาทในระบบการค้าโลกอย่างลึกซึ้ง กระทั่งมีอิทธิพลสำคัญมากยิ่งขึ้น
นายไมค์ รีส (Mike Rees) ประธานเจ้าหน้าที่ธนาคาร สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ (Standard Chartered Bank) อังกฤษกล่าวว่า บริษัทต่างประเทศที่มีการค้าขายกับจีนนั้น ล้วนจะมีโอกาสสัมผัสกับ "เวลาของเงินหยวน" นั่นคือ การชำระค่าการค้าด้วยเงินหยวนเป็นการตัดสินที่ชาญฉลาด สถิติปรากฏว่า ปี 2009 การชำระด้วยเงินหยวนในการค้าข้ามชาติมีเพียง 3,580 ล้านหยวนเท่านั้น แต่ในสามไตรมาสแรกของปีนี้ ก็มีการชำระด้วยเงินหยวนในการค้าข้ามชาติสูงถึง 4.8 ล้านล้านหยวน
สำหรับประเทศจีน เครือข่ายการแลกเปลี่ยนเงินหยวนนอกแผ่นดินจีนที่มีหลายระดับและลึกซึ้ง มิเพียงแต่มีส่วนช่วยให้นักธุรกิจลดความเสี่ยงและความสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเท่านั้น ยังสามารถช่วยให้วิสาหกิจจีนสามารถระดมเงินทุนจากทั่วโลก แก้ปัญหาที่หาเงินทุนหรือเงินกู้ภายในประเทศได้ยาก
หนังสือพิมพ์ เดอะ เดลี่ เทเลกราฟ (The Daily Telegraph) ของอังกฤษออกบทวิเคราะห์ว่า การอนุญาตให้เงินทุนเข้าและออกจีนอย่างเสรีนั้นมีความสำคัญมาก เพราะรัฐบาลจีนได้เห็นว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต จะมีสัดส่วนจากการบริโภคของครอบครัวทั่วไปกลุ่มชนชั้นกลางมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงควรเริ่มปฏิรูปการเงินอย่างรอบด้าน และกระบวนการเป็นสกุลเงินสากลของเงินหยวนจะเป็นพลังขับเคลื่อนเปิดบัญชีทุนสู่ต่างประเทศ ส่งเสริมอัตราดอกเบี้ยลอยตัว และการเพิ่มความโปร่งใสของราคาตลาด
สำหรับประเทศตะวันตกแล้ว การเปิดศูนย์แลกเปลี่ยนเงินหยวนนั้น ก็จะได้รับประโยชน์มากเช่นเดียวกับจีน หนังสือพิมพ์ เดอะ เดลี่ เทเลกราฟ (The Daily Telegraph) ของอังกฤษออกบทความชี้ให้เห็นว่า การเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่มีความสมดุลยิ่งขึ้นนั้น จะส่งผลกระทบทางการเงินน้อยลงต่อประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกัน จีนอาจจะมีการลงทุนในประเทศตะวันตกมากขึ้น
หลังจากนายสี จิ้นผิงเสร็สิ้นการเยือนออสเตรเลียแล้ว มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียออกรายงานระบุว่า เดือนพฤศจิกายนปี 2014 การที่จีนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ผู้นำจีนเดินทางเยือนประเทศมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงระหว่างนี้ จีนได้ใช้ปฏิบัติการที่แท้จริง ผลักดันการเชื่อมต่อของภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก โดยริเริ่มให้ตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานเอเชีย ที่มีทุนในการก่อตั้ง 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และประเดิมทุน 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อช่วยประเทศอาเซียนพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ตลอดจนประเดิมทุน 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งกองทุนเส้นทางสายไหม เพื่อการพัฒนาของเส้นทางสายไหม " 1 แถบ 1 เส้นทาง" ตลอดจนเสนอให้เร่งตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาของกลุ่มบริคซ์
คำว่าการเชื่อมต่อนั้น ไม่เพียงแต่เป็นการเชื่อมต่อด้านการคมนาคม ยังมีการเชื่อมต่อด้านการค้าและการเงิน แม้ว่าปัจจุบัน กลไกใหม่เช่น ธนาคารเพื่อการลงทุนสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานเอเชีย ยังคงใช้สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ก็ตาม แต่ในอนาคต อาจจะมีการใช้สกุลเงินสำคัญของภูมิภาคนี้ พร้อมๆ กับเงินทุนและโครงการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานของจีนทยอยกันก้าวสู่สากล เงินหยวนคงมีบทบาทในด้านการกำหนดราคาสินค้า การใช้จ่าย การชำระและการเป็นทุนสำรองมากขึ้น
(In/Lin)