การประชุมผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงครั้งที่ 5 จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงจะเข้าร่วมประชุม ประเด็นหลักของการประชุมครั้งนี้คือ "มุ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง" ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าและการติดต่อประสานกัน พัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนระหว่างประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาคนี้ และกำหนดทิศทางความร่วมมือขั้นต่อไป
นักเศรษฐศาสตร์ศูนย์วิจัยกสิกรืนชี้ว่า กลไกความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงจะแสดงบทบาทมากขึ้นในการส่งเสริมการติดต่อประสานกันและเสริมกำลังแข่งขันภายในภูมิภาค
พื้นที่ในเขตอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงนับเป็นสะพานทางบกที่เชื่อมต่อจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ มีความสำคัญในทางภูมิประศาสตร์ แต่เนื่องจากปัจจัยหลายประการ ทำให้เศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้ยังล้าหลัง ซึ่งกัมพูชา ลาวและเมียนมาร์ถูกสหประชาชาติจัดอยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา แม้ว่าปีหลังๆนี้ ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ล้วนดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ขยายการเปิดสู่ภายนอก แต่ยังขาดแคลนสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเป็นอย่างมาก ประเทศต่างๆ ใช้งบประมาณในด้านการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานยังไม่เพียงพอกับความต้องการ
จนถึงสิ้นปี 2013 ประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาคนี้ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือถึง 260 รายการ ลงทุนรวมประมาณ 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นายศิวัฒน์ เหลืองสมบูรณ์ ผู้รับผิดชอบฝ่ายวิจัยการลงทุนภูมิภาคศูนย์วิจัยกสิกรไทยกล่าวว่า การสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในภูมิภาคนี้มีศักยภาพการพัฒนาเป็นอย่างมาก ต้องการการสนับสนุนจากองค์กรการเงินส่วนภูมิภาค รวมถึงธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย(AIIB) มากยิ่งขึ้น