สำนักข่าวซินหวารายงานว่า ในที่สัมมนาว่าด้วยเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษ 21 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ นักวิชาการและผู้แทนบริษัทจากประเทศต่างๆ ของอาเซียนร่วมอภิปรายเกี่ยวกับโอกาสและการท้าทายที่เกิดจากการสร้าง "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" และศึกษาวิธีการดำเนินความร่วมมือจีน-อาเซียนอย่างลงลึก
นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์ของอินโดนีเซียเห็นว่า ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าที่อำนวยประโยชน์แก่ทั้งจีนและอาเซียนคือ ศึกษาสภาพความเป็นจริงและความสนใจของแต่ละประเทศ ประเทศอาเซียนต้องการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านอุตสาหกรรม สร้างความสัมพันธ์ทางการค้าที่เสมอภาคและเป็นประโยชน์ต่อกัน ขณะเดียวกันก็ กระชับการแลกเปลี่ยนระดับประชาชน เพื่อเพิ่มความเข้าใจทางวัฒนธรรมระหว่างอาเซียนกับจีน
ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และปัญหาระหว่างประเทศของพม่าเห็นว่า ขณะนี้ พม่ามุ่งกระชับการติดต่อและการแลกเปลี่ยนกับประเทศอาเซียน เอเชียใต้และเอเชียกลาง โดยเฉพาะประเทศจีน มาตรการปฏิรูปภายในประเทศที่กำลังใช้อยู่มีส่วนช่วยให้การพัฒนาของพม่าสานต่อเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษ 21
นักวิชาการจากสมาคมวัฒนธรรมและศิลปะจีนของมาเลเซียเสนอว่า การที่จีนผลักดันสร้างเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษ 21 จีนต้องการเพิ่มศักยภาพด้านนวัตกรรม พัฒนาแบรนด์จีนให้มากขึ้น ปรับปรุงโครงสร้างการค้าให้ดีขึ้น ขยายมูลค่าการค้าระหว่างจีนกับมาเลเซียในด้านนิวไฮเทค ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง โดยเฉพาะด้านการสื่อสาร การผลิตยาชีวภาพ รถยนต์เป็นต้น
IN/FENG