การประชุมผู้แทนประเทศร่วมเจรจาก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย(AIIB) ครั้งที่ 4 ซึ่งจัดเป็นเวลา 2 วัน สิ้นสุดลงที่กรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา นายสื่อ เหย้าปิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังจีนเป็นประธานอำนวยการประชุม ผู้แทนจาก 55 ประเทศสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งจากทั้งหมด 57 ประเทศอภิปรายอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับ "ร่างกฎบัตรธนาคาร AIIB" ตามแผนปฏิบัตงานก่อตั้งธนาคาร กฎบัตรธนาคาร AIIB ฉบับสมบูรณ์จะเปิดแถลงสู่สายตาชาวโลกในตอนกลางปีนี้ แล้วต้องให้บรรดาประเทศสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งทุกประเทศอนุมัติผ่าน ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชียจึงจะเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการก่อนสิ้นปี 2015
ผลคืบหน้าดังกล่าวทำให้การจัดตั้งธนาคาร AIIB เป็นที่จับตามองของทั่วโลก สื่อมวลชนต่างชาติจำนวนไม่น้อยเห็นว่า นับเป็นปัจจัยที่ดีในการกระตุ้นให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวและขยายความต้องการในภาพรวม องค์กรการเงินพหุภาคีใหม่แห่งนี้มีภารกิจหลักที่สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานในเอเชีย และมุ่งใช้ความพยายามกระชับความร่วมมือภายในภูมิภาค ทำให้ประเทศที่มีระดับการพัฒนาไม่เท่ากันมีโอกาสร่วมแบ่งปันประโยชน์จากเศรษฐกิจเอเชียที่เติบโตอย่างยั่งยืน
หนังสือพิมพ์ Ta Kung Pao ของฮ่องกงวิเคราะห์ว่า จีนเริ่มประชาสัมพันธ์ธนาคาร AIIB เมื่อเดือนตุลาคมปี 2013 ขณะนี้มีกว่า 50 ประเทศแสดงทีท่าตอบสนองอย่างแข็งขัน ที่เกินคาดคือ ประเทศที่เจริญมั่งคั่งจนติดอันดับต้นๆ ในโลกตะวันตก เช่น อังกฤษ เยอรมนี ฯลฯ ต่างยื่นขอเข้าร่วมด้วยนั้น สะท้อนให้เห็นว่า การลงทุนต่อโครงสร้างพื้นฐานในเอเชีย การขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนภูมิภาค และความร่วมมือด้านการเงินพหุภาคีที่จะดำเนินการบนเวทีธนาคาร AIIB ย่อมมีอนาคตอันสดใสและกว้างไกล
มองในแง่สมรรถนะด้านการพัฒนา การที่ประเทศโลกตะวันตกหลายประเทศมารวมพลกัน ประกันให้ธนาคาร AIIB มีฐานะสำคัญยิ่งขึ้นในกระบวนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเอเชีย เดิมทีที่จีนเริ่มรณรงค์ก่อตั้ง ธนาคาร AIIB ถูกมองเป็นเพียง "ที่พึ่งทางใจส่วนตัว" ของเหล่าประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย พร้อมไปกับประเทศจากทั้ง 5 ทวีปมาร่วมแรงร่วมใจกันมากขึ้นทุกที ศักยภาพและอิทธิพลของธนาคาร AIIB จึงพุ่งสูงขึ้นอย่างเข้มแข็ง
มองในแง่การบริหารจัดการ การเข้าร่วมของอังกฤษและเยอรมนีนั้น ไม่เพียงแต่จะนำมาซึ่งการสนับสนุนด้านสติปัญญา ประสบการณ์และเงินทุนไว้ให้กับธนาคาร AIIB ในอนาคตแล้ว หากยังส่งเสริมให้ระบบการบริหารจัดการของธนาคาร สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น และเอื้ออำนวยต่อการแย่งชิงระดับเครดิตสูงขึ้นจากองค์กรประเมินเครดิตระหว่างประเทศด้วย นอกนั้น เงินทุนที่บรรดาประเทศพัฒนาแล้วร่วมลงขัน มีส่วนช่วยผ่อนคลายแรงกดดันด้านเงินทุนไหลเวียนในช่วงต้นของการเปิดธนาคารฯ
ศาสตราจารย์ซุน ลี่เจียน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเงินมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น และสมาชิกคณะกรรมการวิจัยเศรษฐศาสตร์คณะรัฐมนตรีจีนเห็นว่า การก่อตั้งธนาคาร AIIB ถือเป็นช่วงก้าวสำคัญเพื่อสร้างเงินหยวนของจีนให้เป็นสกุลเงินสากล ในอนาคตธนาคาร AIIB จะจับมือกับเขตการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้ร่วมกระจายพลังการผลิตที่เป็นจุดแข็งทั้งเงินทุนและเทคโนโลยีออกนอกประเทศ ผลักดันให้ทุนการค้าข้ามชาติที่ชำระด้วยเงินหยวนหมุนเวียนกันเร็วขึ้น สร้างโอกาสทองให้เงินหยวนก้าวหน้าไปสู่สกุลเงินสากล
ยุทธศาสตร์การสร้างเงินเยนของญี่ปุ่นประสบความล้มเหลวเมื่อศตวรรษที่ 20 ยืนยันให้เห็นว่า พลังขับเคลื่อนเงินตราของชาติหนึ่งให้เป็นสกุลเงินสากลต้องเกิดขึ้นจากความต้องการในตลาดประเทศต่างๆ ไม่ใช่จากมาตรการทางการเมือง ปัจจุบัน หลายประเทศยุโรปต่างชิงกันเข้าร่วมธนาคาร AIIB ที่รัฐบาลจีนริเริ่มนั้น แท้ที่จริงเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเงินหยวนเป็นสกุลเงินสากล และสนับสนุนเงินหยวนแข่งขันกับดอลลาร์สหรัฐ
ศาสตรจารย์ซุน ลี่เจียนเน้นว่า ทุกวันนี้ การค้าระหว่างประเทศนับวันมีอิทธิพลสำคัญยิ่งขึ้นต่อระบบสกุลเงินของโลก จีนเป็นประเทศที่มีตลาดภายในใหญ่ที่สุดของโลก การเติบโตของเศรษฐกิจอำนวยประโยชน์ต่อภูมิภาคและของโลกด้วย จำนวนประเทศคู่ค้าของจีนที่ต้องการใช้เงินหยวนชำระการค้าเพิ่มมากขึ้นทุกที ดังนั้น ความต้องการที่เกิดขึ้นเองในตลาดโลก เปิดช่องทางดีที่สุดสำหรับให้เงินหยวนเป็นเงินตราสากล
เมื่อศตวรรษที่ 20 รัฐบาลญี่ปุ่นมุ่งหมายที่จะผลักดันเงินเยนเป็นสกุลเงินสากล แต่ต้องประสบกับความล้มเหลว ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐสามารถเข้าแทนที่เงินปอนด์อังกฤษขึ้นเป็นสกุลเงินหลักของโลกได้ ก็เพราะตลาดโลกสมัยนั้นต้องการแบบนี้ สรุปได้ว่า การพัฒนาเงินหยวนให้เป็นสกุลเงินสากลนั้น ใช้วิธีการเมืองกระตุ้นอย่างเดียวไม่พอ ขุมพลังสำคัญต้องเกิดขึ้นเองในตลาดโลก ธนาคาร AIIB สนองตอบความต้องการนี้อย่างดี เปิดเวทีใหญ่ให้เงินหยวนหมุนเวียนสะดวกยิ่งขึ้น