ฟิลิปปินส์ยื่นแผนที่โบราณต่อศาลระหว่างประเทศเพื่อยืนยันว่าเกาะหวงเอี๋ยนเป็นดินแดนของฟิลิปปินส์
  2015-06-09 18:42:18  cri

หนังสือพมิพ์ Global Times ของจีนรายงานข่างจาก สื่อมวลชนฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า รัฐบาลฟิลิปปิส์จะยื่นแผนที่ฟิลิปปินส์เมื่อเกือบ 300 ปีก่อนต่อศาลระหว่างประเทศภายในสัปดาห์นี้ เพื่อยืนยันว่า กองหินโสโครกสการ์โบโรห์ หรือเกาะหวงเอี๋ยนของจีน เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของฟิลิปปินส์ตั้งแต่เมื่อ 300 ปีก่อน เพื่อโต้แย้งข้อเสนอ nine-dotted line ด้านน่านน้ำทะเลจีนใต้ของจีน นายหลิว เฟิง นักวิชาการปัญหามหาสมุทรของจีนกล่าวว่า แผนที่ภาคเอกชนที่ไม่ได้ผ่านการยืนยันของทางการเช่นนี้ไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย หากศาลระหว่างประเทศเคารพกฎหมายจริงๆ ควรมองข้ามการกระทำของฟิลิปปินส์

สื่อมวลชนภาคเอกชนฟิลิปปินส์รายงานว่า เมื่อปี 1734 นายเปโตร บาทหลวงจากสมาคมพระเยซูได้พิมพ์แผนที่ฉบับดังกล่าวที่กรุงมะนิลา โดยได้ถือกรุงมะนิลาเป็นศูนย์กลาง ระบุถึงเส้นทางเดินเรือจากกรุงมะนิลาถึงสเปนและดินแดนอื่นๆ ของสเปน ซึ่งได้เขียนถึงเกาะหวงเอี๋ยนเป็นครั้งแรก และใช้ชื่อว่า ปานากอต (Panacot) เมื่อปี 2012 แผนที่ฉบับนี้ปรากฏขึ้นที่กรุงลอนดอน และนายเมล วลาด พ่อค้าชาวอังกฤษได้ซื้อไปในราคา 170,500 ปอนด์

สื่อมวลชนฟิลิปปินส์รายงานว่า นายวลาดซื้อแผนที่ฉบับนี้ตามข้อเสนอของนายอันโตนิโอ ผู้พิพากษาใหญ่ของศาลสูงสุดฟิลิปปินส์ บีบีซีของอังกฤษรายงานว่า นายอันโตนิโอ เห็นว่า ในแผนที่ต่างๆ ที่เขียนโดยชาวฝรั่งนั้น แผนที่ฉบับนี้สามารถแสดงถึง "ดินแดนที่จริง" ของฟิลิปปินส์ได้มากที่สุด

แต่ทว่า ด้านนายหลิว เฟิง นักวิชาการปัญหามหาสมุทรจีนเห็นว่า การที่ฟิลิปปินส์ใช้ "แผนที่" ที่เขียนโดยมิชชันนารีที่ไม่ได้รับการยืนยันมาเป็นหลักฐานเพื่อแย่งชิงเกาะหวงเอี๋ยนในสมัยที่ตกเป็นอาณานิคมของสเปนเมื่อปี 1734 นั้น เป็นเรื่องตลกที่ไร้สาระ นายหลิว เฟิง กล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่า ฟิลิปปินส์เคยเป็นอาณานิคมของสเปน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ตั้งแต่สนธิสัญญาปารีสระหว่างสหรัฐฯ กับสเปนเมื่อปี 1898 เป็นต้นมา สนธิสัญญาระหว่างประเทศฉบับต่างๆ ที่ได้กำหนดดินแดนฟิลิปปินส์นั้น ไม่เคยรวมเกาะหวงเอี๋ยนให้เป็นดินแดนของฟิลิปปินส์ ส่วนแผนที่ที่ทางการฟิลิปปินส์จัดพิมพ์นั้น ก็จัดให้เกาะหวงเอี๋ยนอยู่นอกอาณาเขตประเทศฟิลิปปิส์อย่างชัดเจนเหมือนกัน เนื่องจากแผนที่ทางการไม่เอื้อต่อผลประโยชน์ของตน จึงไปหาแผนที่เอกชนมาใช้ ทั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการใช้ 2 มาตรการในการแย่งชิงทะเลจีนใต้ของฟิลิปปินส์

Toon/Ldan

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040