จองหงวนของการสอบเอ็นทรานซ์ (1)
  2015-06-16 16:15:26  cri

วันที่ 7 – 8 มิถุนายนที่ผ่านมา การสอบเอ็นทรานซ์ประจำปี 2015 ของจีนเพิ่งสิ้นสุดลง ทุกปีก่อนและหลังการสอบเอ็นทรานซ์ สื่อมวลชนจีนมักจะรายงานเรื่องนี้จากแง่มุมต่างๆ สำหรับปีนี้ มีรายงานข่าวบทหนึ่งดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน คือ ผลการสำรวจจากสถานบันวิจัยการศึกษาจีนแสดงว่า ตั้งแต่จีนฟื้นฟูการสอบเอ็นทรานซ์เมื่อปี 1977 เป็นต้นมา ในช่วง 30 กว่าที่ผ่านมา ผู้ได้คะแนนสอบสูงสุดของมณฑลต่างๆ ทั่วประเทศรวมกว่า 1,000 คน ไม่มีคนไหนประสบความสำเร็จอันโดดเด่น หรือกลายเป็นผู้โด่งดังในวิชาชีพ ซึ่งทำให้ทั้งสังคมพากันตั้งคำถามว่า การศึกษาในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาเกิดปัญหาอะไรขึ้น

องค์การดังกล่าวยังสำรวจนักวิทยาศาสตร์ บุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม นักธุรกิจและัศิลปินอย่างละ 100 คน ปรากฏว่า นอกจากนักวิทยาศาสตร์เห็นว่าผลสำเร็จทางวิชาการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาในโรงเรียนแล้ว ผู้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพอื่นๆ ล้วนเห็นว่า ผลงานของตนไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในโรงเรียนเลย

ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจึงให้ข้อสรุปว่า ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้เกิดจากการเรียนการสอนความรู้อย่างตายตัว ซึ่งสะท้อนว่า การศึกษาพื้นฐานของจีนในช่วง 30 กว่าปีที่ผ่านมา ถือการสอนความรู้แบบยัดเยียดเป็นหลัก นักเรียนได้แต่รับอย่างเดียว จนขาดอิสระในการค้นคว้าและศึกษาวิจัยสิ่งที่ตัวเองชอบจริงๆ อีกด้านหนึ่ง เนื่องจากนักเรียนต้องเผชิญกับการแข่งขันและแรงกดดันจากการสอบ ไม่ว่าจะเป็นการสอบเข้าโรงเรียนประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย จนกระทั่งมหาวิทยาลัย จึงต้องใช้เวลาเกือบทั้งหมดทุ่มให้กับการเตรียมสอบ เวลาอยู่โรงเรียน ครูก็กรอกวิชาความรู้ให้เต็มสมอง ถึงเสาว์อาทิตย์ แทนที่จะพักผ่อนที่บ้านหรือออกกำลังกายนอกบ้าน ก็จะถูกพ่อแม่พาไปโรงเรียนกวดวิชา ทั้งนี้โทษแต่โรงเรียนหรือผู้ปกครองก็ไม่ยุติธรรม เพราะเป็นปัญหาที่สืบทอดมานานแล้ว และก็ดูเหมือนไม่เคยได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง

เหตุใดผู้สอบได้ที่หนึ่ง(ชาวจีนเรียกว่าจองหงวน)ของมณฑล ซึ่งหมายความว่า ต้องชนะคู่แข่งในมณฑลเดียวกันหลายแสนคนถึงเกือบล้านคน แต่หลังจากหลายปีผ่านไป จองหงวนเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตเหมือนคนธรรมดาทั่วไป ไม่มีสักคนประสบความสำเร็จโด่งดังในด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งผิดกับการคาดการณ์ของสังคม

ประการแรก การสอบได้จองหงวน สามารถพิสูจน์ได้ว่า มีความสามารถด้านการเรียน ความจำ การควบคุมตัวเองและการวางแผนการเรียน แต่ไม่ได้หมายความว่ามีความสามารถภาคปฏิบัติและการประดิษฐ์คิดค้น ความสามารถด้านการเรียนการสอนไม่ใช้เครื่องวัดความสามารถด้านอื่น

สอง ผู้มุ่งแต่คะแนนสอบ มักให้ความสำคัญกับความแม่นยำและความถูกต้องของความรู้ที่ท่องมา ไม่ยอมให้เกิดความผิดพลาดเวลาทำข้อสอบ ทำให้ความคิดความอ่านเข้ากรอบตายตัว ชำนาญกับการท่องและจำตำราเรียน รู้จักแต่รับความรู้ที่มีอยู่แล้ว ชินกับการรอรับอย่างเดียว หลังจากทำงานแล้ว ก็จะรอแต่คำสั่งจากข้างบน ข้างบนสั่งยังไงก็จะทำอย่างนั้น ไม่เคยคิดที่จะสร้างสรรค์หรือแหวกแนว การปฏิบัติหน้าที่คล้ายกับการทำข้อสอบทุกครั้งตอนอยู่โรงเรียน ซึ่งมุ่งแต่ได้คำตอบและคะแนนเพอร์เฟกต์ ความคิดแบบนี้จะกลายเป็นสิ่งกีดกวางบนหนทางที่ก้าวไปสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงาน

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040