วันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา ปิดการประชุมสุดยอดคลังสมองครั้งที่ 4 ที่กรุงปักกิ่ง ผู้แทนจาก 22 ประเทศและเขตแคว้นได้หารือและชูข้อเสนอด้านบรรเทาความยากจนด้วย นายหลิว หย่งฟู่ ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาภัยแห่งคณะรัฐมนตรีจีนกล่าวว่า ในอนาคต จีนจะดำเนินยุทธศาสตร์บรรเทาความยากจนอย่างรอบด้านเพื่อประกันให้คนจน 70 ล้านคนหลุดพ้นจากความยากจนในปี 2020 ตามที่คาดเอาไว้
ปัจจุบัน ขีดชี้วัดความยากจนของชนบทจีนอยู่ที่ 2,300 หยวนต่อคนต่อปี เท่ากับ 6.3 หยวนต่อคนต่อวัน นายหลิว หย่งฟู่เปิดเผยในที่ประชุมว่า จีนยังมีเขตยากจนติดต่อกัน 14 แห่ง อำเภอยากจน 800 อำเภอ หมู่บ้านยากจน 128,000 หมู่บ้านและ ประชากรยากจน 70 ล้านคน เขากล่าวว่า ในอนาคต จีนจะดำเนินยุทธศาสตร์บรรเทาความยากจนเพื่อประกันให้คนจนหลุดพ้นจากความยากจนในปี 2020
โดยปี 2015 เป็นปีสุดท้ายของแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจีนระยะ 5 ปีฉบับที่ 12 นายเนี่ย เจิ้นปาง รองกรรมการใหญ่ศูนย์แลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจนานาชาติจีนเห็นว่า จีนต้องบรรเทาประชากรคนยากจนมากกว่า 10 ล้านถึงจะสร้างพื้นฐานที่จะบรรเทาประชากรคนยากจนอีก 60 ล้านคนในช่วงแผนการพัฒนาฉบับที่ 13 เขาเสนอว่า นอกจากเพิ่มการสนับสนุนทางการเงินและทางบุคคลและยกระดับการพัฒนาให้กับเขตยากจนแล้ว หากยังต้องปรับปรุงกลไกและกระตุ้นศักยภาพการพัฒนาอีกด้วย
นาย ไมเคิล โยห์ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์และผู้นำเอเชียแห่งประเทศมาเลเซียแนะนำว่า การศึกษาเป็นยุทธศาสตร์บรรเทาภัยของมาเลเซีย ปัจจุบัน อัตราความยากจนของมาเลเซียได้ลดลงจากร้อยละ 5 เมื่อปี 2009 มาอยู่ที่ร้อยละ 2 เมื่อปี 2012 เขาเห็นว่า หนึ่งในวิธีบรรเทาความยากจนที่ดี่สุดก็คือมอบสิทธิ์ให้กับสตรี ต้องเน้นความเท่าเทียมกันทางเพศเพราะจะนำผลดีมาสู่การบรรเทาความยากจน เขากล่าวว่า ต้องประกันให้สตรี มีทรัพยากรทางการเงิน มีโอกาสรับการศึกษาและสมัครงานที่ยุติธรรม จนทำให้สตรีมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย
(Yim/Cui)