ประชาคมอาเซียนสร้างโอกาสความร่วมมือใหม่
  2015-08-04 16:10:15  People's Daily

หนังสือพิมพ์เหรินหมินรื่อเป้ารายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคมเป็นต้นไป การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศจีน-อาเซียน การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน+3 การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเพื่อการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของฟอรั่มภูมิภาคอาเซียน ต่างจัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย เมื่อต้องเผชิญกับประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นโดยการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จก่อนสิ้นปี 2015 จีนกับประเทศอาเซียนจะใช้เวทีสำคัญจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชียตะวันออก พัฒนา และวางแผนความร่วมมือ ให้บรรลุผลพิเศษยิ่ง หาที่เปรียบเทียบกันได้ยาก

การสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จนับเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สมควรบันทึกลงในประวัติศาสตร์โลก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคยประสบความยากจน และทุกข็ทนกับไฟสงครามและความปั่นป่วน จนถูกขนานนามว่าเป็น "บอลข่าน(Balkan)ในเอเชีย" ระยะหนึ่ง ทว่า การพัฒนาอย่างที่มีประสิทธิผลและมีเสถียรภาพของอาเซียนได้เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของภูมิภาคนี้ในภาพรวม พร้อมกันนั้น การเจรจาที่ต่างฝ่ายต่างคำนึงถึงประโยชน์ร่วมกัน ความหลากหลาย และความกลมกลืนสมานฉันท์ที่เป็นเอกลักษณ์ของอาเซียน ค่อยๆ กลายมาเป็นแบบอย่างการพัฒนาสู่เป็นหนึ่งเดียวในภูมิภาค

มองจากกระบวนการพัฒนาของอาเซียน การกำหนดให้ภารกิจเพื่อการพัฒนาเป็นเป้าหมายสำคัญนั้น ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่นำความสำเร็จให้กับอาเซียน นักวิชาการบางคนเคยสรุปไว้ว่า ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา อาเซียนพยายามเชื่อมต่อตลาดภายในภูมิภาคให้ได้ และแม้จะประสบกับวิกฤตการเงินเอเชียช่วงก่อนหน้า แต่ก็ไม่ได้ทำให้อาเซียนหันหาลัทธิกีดกันทางการค้า อีกด้านหนึ่ง เนื่องจากตระหนักดีว่า ทรัพยากรภายในภูมิภาคมีอยู่จำกัด จึงขับเคลื่อนมยุทธศาสตร์ เพิ่มแรงดึงดูดใจ เปิดตัวสู่ภายนอกอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้ากับจีนและประชาคมเศรษฐกิจภายนอกอื่นๆ ประสบการณ์เหล่านี้เป็นหลักประกันสำคัญที่ค้ำชูอาเซียนให้เดินหน้าอย่างดีบนหนทางการพัฒนาในอนาคต

ปัจจุบัน เศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในระยะที่ต้องปรับตัวภายหลังวิกฤตการเงินโลก ปัจจัยที่ไม่มั่นคงมีมากขึ้น ทำให้ความเสี่ยงและการท้าทายที่ประเทศเศรษฐกิจใหม่และประเทศกำลังพัฒนาต้องเผชิญหน้านั้นเพิ่มขึ้นตาม การเติบโตของเศรษฐกิจชะลอตัวลงโดยทั่วไป อาเซียนก็เช่นกัน แรงกดดันทำให้เศรษฐกิจซบเซาลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การรับมือกับการท้าทายด้วยดี รักษาการเติบโตของเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจึงยังคงเป็นภารกิจสำคัญอันดับแรกของทุกประเทศอาเซียน

TON/FENG

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040