องค์การพลังงานปรมาณูสากลเรียกร้องเกาหลีเหนือร่วมมือโดยเร็ว
  2015-09-08 11:35:04  cri
เมื่อวันที่ 7 กันยายน คณะกรรมการองค์การพลังงานปรมาณูสากลจัดการประชุมที่กรุงเวียนนา นายยุกิยา อามาโนะ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การพลังงานปรมาณูสากลหรือ IAEA ยื่นรายงานในที่ประชุม แสดงความยินดีต่อการที่ปัญหานิวเคลียร์อิหร่านได้รับการแก้ไขทุกด้าน พร้อมเรียกร้องเกาหลีเหนือร่วมมือกับ IAEA แก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเร็ว

การประชุมครั้งนี้มีประเทศสมาชิกร่วมประชุม 35 ประเทศ จัดการประชุม 5 วัน ประเด็นเจรจามีความกว้างขวางมาก อาทิ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน การแสดงบทบาทในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความร่วมมือในด้านความปลอดภัยของอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ และการตรวจสอบอาวุธนิวเคลียร์ในอิหร่านและเกาหลีเหนือ เป็นต้น

สำหรับปัญหานิวเคลียร์อิหร่าน ผู้อำนวยการยุกิยากล่าวว่า เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา IAEA มอบหมายให้ตนดำเนินการเจรจากับอิหร่านและ 6 ประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบสภาพการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของอิหร่าน และเพื่อจัดการข้อตกลงภาคผนวกต่อไปต่อไป นายยุกิยากล่าวอีกว่า ต่อการนี้จะทำให้ IAEA จะได้รับข้อมูลข่าวสารมากยิ่งขึ้น เข้าถึงจุดตรวจสอบมากยิ่งขึ้น และสามารถจัดทำรายงานเกี่ยวกับการตรวจสอบรังสีนิวเคลียร์และการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับนิวเคลียร์ที่ให้ฝ่ายต่างๆ ยอมรับได้

จากรายงานการประชุม IAEA ยังให้ความสำคัญต่อปัญหานิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือระบุว่า ปัจจุบันยังไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบที่ เกาหลีเหนือ และก็ไม่สามารถทราบรายละเอียดของโครงการนิวเคลียร์เกาหลีเหนือได้ มีแต่ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมช่วยตรวจสอบสิ่งก่อสร้างในยองเบียนเท่านั้น โดยเห็นว่าเกาหลีเหนือได้ดำเนินการซ่อมแซมและก่อสร้างหลายจุด ตรงกับข้อมูลที่ว่าเกาหลีเหนือจะยกศักยภาพด้านนิวเคลียร์ นายยุกินากล่าวว่า หากเกาหลีเหนืออนุมัติเมื่อใด ทาง IAEA จะเข้าไปตรวจสอบทันที

ทั้งนี้ นายยุกิยายังกล่าวถึงปัญหาการรักษาความปลอดภัยของอาวุธนิวเคลียร์ในซีเรีย พร้อมเร่งให้ซีเรียขยายความร่วมมือกับ IAEA ในทุกปัญหาที่ยังค้างคาอยู่

Toon/Lei

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040