เฟิง: เมื่อปี 2014 ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนเสนอยุทธศาสสตร์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" เปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคสามารถร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ขณะนี้ทุกประเทศที่เกี่ยวข้องเริ่มเดินหน้าตามทิศทางนี้ นับได้ว่าได้สร้างผลสำเร็จในการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานระหว่างกันแล้ว โดยเฉพาะในด้านการคมนาคม คุณชัยวัฒน์มองยุทธศาสตร์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" อย่างไรครับ?
ชัยวัฒน์: ผมเห็นว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่จะได้ประโยชน์ร่วมกันสำหรับทุกประเทศในเส้นทางดังกล่าว เท่ากับว่าเป็นการเชื่อมโลกอ่ะ เป็นยุทธศาสตร์การเชื่อมโลกซึ่งบางคนอาจจะมองว่าจีนต้องการจะขยายอำนาจ อันนั้นก็ว่าไป แต่ว่าถ้ามองไปในแง่สิ่งที่เป็นรูปธรรมก็คือว่ามีการพัฒนาเส้นทางการคมนาคมให้สามารถเชื่อมต่อกันไปได้นะครับ ก็จะทำให้เป็นประโยชน์กับประเทศที่อยู่ในเส้นทางดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางทะไลก็ตาม แล้วสิ่งที่จะตามมาแน่นอนว่าประชาชนในแต่ละประเทศจะได้รับประโยชน์ในการเดินทางไปมาหาสู่กัน นั่นคือประชาชน คุณจะไปเพื่อการท่องเที่ยวหรือเพื่อการค้า คุณจะไปเยี่ยมญาติ อะไรก็แล้วแต่คุณ สิ่งที่มันจะตามมาก็คือ เศรษฐกิจมันจะได้ Flow หรือว่าสามารถส่งต่อกันได้ การค้าขายระหว่างประเทศจะมีความคร่องตัว ไม่ใช่ว่าจะไปทางบินทางอากาศ เอาสินค้าไปลงอย่างเดียว คุณสามารถในระบบถนน สามารถใช้ระบบราง หรือใช้ทางเรือ อย่างที่บอกว่ามีนโยบายเส้นทางสายไหมทางทะเล ใช่ไหมครับ มันก็สามารถเชื่อมต่อกันไปได้ ถ้าเป็นแบบนี้ผมว่าต่างฝ่ายต่างจะได้รับประโยชน์ อยู่ที่ว่าแต่ละโครงการจะสามารถเดินหน้าได้ตามแผนได้ไวขนาดไหน อย่างไรครับ?
เฟิง: ไทยกับจีนสนิทกันเหมือนพี่น้อง สองประเทศล้วนเป็นประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย แล้วคุณชัยวัฒน์เห็นว่า ประเทศไทยสามารถเลียนแบบประสบการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีนไปใช้ประโยชน์ได้บางไหมครับ?
ชัยวัฒน์: ใช้คำว่าเลียนแบบผมว่ายาก เพราะว่าสำหรับประเทสไทย ปัญหาใหญ่สุดคือเรื่องการเมือง การเมืองไม่สามารถ ตัดสินใจทำอะไรเด็ดขาดแบบจีน แบบรัฐบาลจีน เช่นรัฐบาลจีนอยากจะสร้างทางด้วนวันพรุงนี้ ก็ประกาศเวนคืนได้ทันที แต่ประเทศไทยถ้าคิดว่าจะสร้างทางด่วนพรุ่งนี้ นั่นแปลว่าอีกสิบปีจะสร้างได้ เพราะว่าต้องออกกฎหมายมาเวนคืน มาทำประชาพิจารณ์มา มาศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ อีกมากมาย ฉะนั้นคงเรียนแบบกันไม่ได้ แต่อาจจะใช้แนวความคิดบางอย่างนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น ถ้าคุณอยากจะพัฒนาอะไร คุณกำหนดยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน แล้วคุณเดินไปตามยุทธศาสตร์นั้นให้มันมั่นคงและต่อเนื่อง คือประเทศไทย ปัญหาของไทยอย่างหนึ่งก็คือว่ายุทธศาสตร์ไม่ต่อเนื่อง พอรัฐบาลหนึ่งขึ้นมาบริหารประเทศ ประกาศยุทธศาสตร์อย่างหนึ่ง แต่ถ้าเป็นรัฐบาลอีกฝ่ายหนึ่งขึ้นมา เปลี่ยนแปลงไม่เอา เพราะบอกว่าไม่อยากจะไปเดินซ้ำรอยของรัฐบาลอีกพรรคหนึ่ง แล้วพอเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ถ้ายังไม่ให้ของเดิม ก็จะเปลี่ยนแปลงไปอีก มันก็เลยขาดความต่อเนื่องละครับ อันนี้เป็นปัญญาครับ