ปัจจุบัน การผลิตล้นเกินกลายเป็นปัญหาที่โดดเด่นขัดขวางการพัฒนาของเศรษฐกิจจีน มีผลกระทบโดยตรงที่ทำให้กำไรของวิสาหกิจลดน้อยลง อุตสาหกรรมถลุงเหล็กและอุตสาหกรรมผลิตถ่านหินเผชิญกับปัญหาการผลิตล้นเกินสูงที่สุด กำไรของวิสาหกิจในสองอุตสาหกรรมดังกล่าวลดลงอย่างชัดเจน นายหลิว ซื่อจิ่น รองเลขาธิการมูลนิธิวิจัยการพัฒนาแห่งประเทศจีนกล่าวว่า สำหรับอุตสาหกรรมถลุงเหล็กและอุตสาหกรรมผลิตถ่านหิน ในภาพรวมมีการผลิตล้นเกินกว่า 30% เนื่องจากอุปทานสูงกว่าอุปสงค์อย่างมาก ทำให้ดัชนีราคาผู้ผลิต(PPI)ของสองอุตสาหกรรมนี้เติบโตทางลบอย่างเตื่องเนื่องกันกว่า 40 เดือน กำไรของสองอุตสาหกรรมนี้ก็มีอัตราเติบโตเป็นลบเช่นกัน ทำให้โรงงานส่วนหนึ่งตกอยู่ในภาวะหยุดผลิตทั้งหมดหรือหยุดผลิตครึ่งหนึ่ง
นอกจากอุตสาหกรรมถลุงเหล็กและอุตสาหกรรมผลิตถ่านหินแล้ว อุตสาหกรรมปูซีเมนต์ กระจก อลูมิเนียมอิเล็กโตรไลติก(electrolytic aluminium) ปิโตรเคมี และโลหะมีสี ฯลฯ ก็เผชิญกับปัญหาการผลิตล้นเกิน วิสาหกิจจำนวนมากถือครองทรัพยากรมหาศาล เป็นอุปสรรคใหญ่หลวงที่ขัดขวางการพัฒนาของเศรษฐกิจใหม่ แต่ทว่า การคลี่คลายการผลิตล้นเกินไม่สามารถเสร็จสิ้นในระยะสั้นๆ จริงๆ แล้ว วิสาหกิจที่ประสบปัญหาการผลิตล้นเกินนั้น ส่วนใหญ่ติดหนี้จำนวนมาก ถ้าจัดการไม่ดีอาจจะก่อให้เกิดปัญหาลูกโซ่ นอกจากนี้แล้ว สำหรับอุตสาหกรรมบางสาขา การผลิตล้นเกินมาจากลักษณะโครงสร้าง หมายถึง ศักยภาพการผลิตระดับต่ำมีเหลือเฟือ แต่ศักยภาพการผลิตระดับสูงไม่เพียงพอ ตลาดยังคงมีความต้องการสินค้าคุณภาพดีอย่างสูงอุตสาหกรรมที่มีการผลิตล้นเกินเชิงโครงสร้าง หากใช้วิธีการ "จำกัดเงินกู้" หรือ "หยุดป้อนวัตถุดิบ" เป็นวิธีการเดียวที่จะคลี่คลายการผลิตล้นเกิน แต่ก็จะกระทบต่อการยกระดับอุตสาหกรรม
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายหวาง อีหมิง รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการพัฒนาแห่งคณะรัฐมนตรีจีนเสนอว่า เมื่อเผชิญกับสถานการณ์เช่นนี้ ยิ่งต้องใช้ความกล้าหาญในการลงมือปฏิบัติ ใช้วิธีการที่สมเหตุสมผลเพื่อแก้ปัญหา ถ้าจัดระเบียบใหม่ได้ก็ไม่ต้องเผชิญกับสภาพล้มละลาย ในส่วนของวิสาหกิจที่ต้องเลิกกิจการ ควรให้ความช่วยเหลือพนักงานในการหางานใหม่ ให้การฝึกอบรม เพื่อให้พวกเขาอยู่ได้
YIM/FENG