สำนักข่าวซินหวารายงานว่า ประชาคมอาเซียนที่มี 3 เสาหลักอันได้แก่ ความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมสังคมได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคมปี 2015 เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่ากระบวนการรวมอาเซียนเป็นหนึ่งเดียวกันประสบความสำเร็จอย่างสำคัญ นักวิเคราะห์เห็นว่า ประชาคมอาเซียนในฐานะเป็นประชาคมร่วมอนุภูมิภาคแห่งแรกของเอเชีย จะหมายความว่าถึงระดับรวมเป็นหนึ่งเดียวกันของประเทศอาเซียนในด้านความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมสังคมมีระดับเพิ่มสูงขึ้น แต่สิ่งที่มองข้ามไม่ได้ก็คือ อาเซียนที่รวมเป็นหนึ่งเดียวกันยังต้องเผชิญหน้ากับการท้าทายอีกมากมาย
การก่อตั้งประชาคมอาเซียน ทำให้อาเซียนก้าวสู่จุดเริ่มต้นใหม่แห่งอนาคต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะกลายเป็นตลาดที่มีประชากรมากกว่า 600 ล้านคน ยอดมวลรวมทางเศรษฐกิจมากกว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ การเติบโตทางเศรษฐกิจในเขตนี้มีหวังจะเพิ่มความเร็วขึ้น
นายบัมบัง ซูร์โยโน(Bambang Suryono)ประธานกองทุนหนันหยางอาเซียนของอินโดนีเซีย(Nanyang ASEAN Foundation)กล่าวว่า ผลประโยชน์ใหญ่หลวงที่สุดที่ประชาคมร่วมอาเซียนได้นำมาให้ก็คือระดับการค้าภายในอาเซียนที่เพิ่มสูงขึ้น เขากล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ประเทศจำนวนมากของอาเซียนให้ความสำคัญใช้ข้อตกลงแบบทวิภาคีหรือข้อตกลงการค้าเสรีเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางการค้ากับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ แต่ได้มองข้ามศักยภาพการค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันเอง การก่อตั้งประชาคมอาเซียน จึงนำมาซึ่งโอกาสการเพิ่มระดับการค้าภายในประเทศอาเซียน
ปัจจุบัน การค้าภายในอาเซียนได้เติบโตขึ้นด้วยอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 10.5 คาดว่าถึงปี 2020 การค้าภายในอาเซียนจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 30 ของปริมาณการค้าทั้งหมดของอาเซียน
อาเซียนเป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่มีความผสมผสานทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกค่อนข้างสูง แม้ว่าอาเซียนจะเผชิญกับความยากลำบากมากมายในกระบวนการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันในอนาคตก็ตาม แต่ปัจจุบันได้เริ่มก้าวแรกที่น่าตื่นเต้นเร้าใจแล้ว เอกสารแสดงวิสัยทัศน์อาเซียนปี 2025 ที่ได้รับการอนุมัติผ่านในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย แสดงให้เห็นว่าประเทศสมาชิกต่างมีความมั่นใจต่ออนาคตของประชาคมร่วม
(Yim/zheng)