ข้อมูลจากสํานักงานสถิติแห่งชาติจีนเมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมาว่า ปี 2015 จีนมีประชากรเกิดใหม่ 16.55 ล้านคน ลดลง 320,000 คนเมื่อเทียบกับปี 2014 ทั้งนี้ ต่ำกว่าเป้าหมายที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคาดไว้มาก
นายหวัง กว่างโจว นักวิชาการจากสถาบันวิจัยประชากรและเศรษฐกิจแรงงานสถาบันวิทยาศาสตร์สังคมจีนกล่าวว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ประชากรจีนเกิดน้อยลงในปี 2015 คือ การให้กำเนิดลูกคนที่หนึ่งลดลง เนื่องจากอายุเฉลี่ยของสัตรีวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงานมากกว่าปีก่อน ๆ และระดับการศึกษาสูงขึ้น เมื่อมีลูกคนที่หนึ่งก็มีอายุมากขึ้น จึงทำให้ลูกคนที่หนึ่งเกิดน้อยลง
นายหลี่ เจี้ยนซิน นักวิชาการด้านประชากรศาสตร์มหาวิทยาลัยปักกิ่งเปิดเผยว่า ไม่เพียงแต่นโยบาย " สามีหรือภรรยาคนใดคนหนึ่งเป็นลูกโทนก็มีสิทธิมีลูกคนที่สอง " นโยบาย " ครอบครัวจีนทั้งประเทศสามารถมีลูกคนที่สอง" ก็ย่อมจะไม่ได้ผลดังคาด เนื่องจากปัจจุบันกลุ่มคนวัยเจริญพันธุ์ของจีนส่วนใหญ่เป็นหนุ่มสาวที่เกิดในทศวรรษ 1980 และ 1990 ทั้งแนวความคิดในการแต่งงานการมีลูก และต้นทุนที่ประกอบเป็นครอบครัวและการเลี้ยงดูลูก ล้วนต่างจากรุ่นพ่อแม่เป็นอย่างมาก
จาหผลการวิจัยของหน่วยวิจัยต่าง ๆ ปัจจุบันความต้องการมีลูกของจีนโดยรวมอยู่ที่ระดับ 1.6-1.9 ต่ำว่าระดับก่อนหน้าอย่างมาก ขณะเดียวกัน พฤติกรรมการเจริญพันธุ์ที่เป็นจริง ก็ต่ำกว่าความประสงค์อีกด้วย
ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า จากสถานการณ์การให้กำเนิดทุกวันนี้ ประกอบกับจำนวนสัตรีในวัยเจริญพันธุ์ลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงปี 2025 จีนจะเผชิญกับปัญหาประชากรลดลง
( In/Zi )