ฯพณฯ หลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา ฯพณฯ ทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฯพณฯ ดร.ไซ หมวก คำ รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ฯพณฯ ฝ่าม บิ่งห์ มิงห์ รองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ก่อนอื่น ในฐานะตัวแทนรัฐบาลและประชาชนชาวไทย ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายและครอบครัวจากเหตุการก่อวินาศกรรมกรุงบรัสเซลส์เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ต่อประชาคมโลกอีกครั้งหนึ่ง ไทยขอประณามการกระทำอันไร้มนุษยธรรมและโหดร้าย และขอยืนยันความพร้อมที่จะร่วมกับประชาคมโลกในการต่อสู้การก่อการร้ายในทุกรูปแบบ บนพื้นฐานของหลักยุติธรรม ความถูกต้องและกฎหมายระหว่างประเทศ
ผมยินดีที่ได้มาร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง-ล้านช้างที่จัดขึ้นในวันนี้ ขอขอบพระคุณฯพณฯ หลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ได้ให้เกียรติผมเป็นประธานร่วมในการประชุม ตลอดจนการต้อนรับที่อบอุ่นในงานเลี้งอาหารค่ำเมื่อคืนวานนี้ การประชุมนั้นนอกจากจะเป็นการประชุมระดับผู้นำครั้งแรกแล้วในการจัดตั้งกรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง-ล้านช้าง จากคำกล่าวท่านนายกรัฐมนตรีที่ว่า " น้ำคือชีวิต " จึงถือเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าแรกของกรอบความร่วมมือนี้ ที่จะสะท้องเจตนารมณ์ทางการเมืองอันแน่วแน่ของสมาชิกทุกประเทศที่ตั้งอยู่บนแม่น้ำสายเดียวกันและมีอนาคตร่วมกัน ในการร่วมมือการพัฒนาภูมิภาคของเราให้เข้มแข็ง แข็งแกร่ง และเจริญเติบโตก้าวหน้าไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ผมยินดีที่แนวคิด " การพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม้น้ำโขง" ที่กรุงเทพฯเมื่อปีค.ศ. 2012 ได้มีการพัฒนาขยายมาสู่การจัดตั้งกรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง-ล้านช้าง ที่ครอบคลุมสาขาต่าง ๆ รอบด้าน ด้วยการสนันสนุนจากจีนโดยเฉพาะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงที่ได้ผลักดันกรอบความร่วมมือนี้ด้วยตนเองตั้งแต่แรกเริ่ม ตลอดจนการสนับสนุนจากทุกประเทศสมาชิก สำหรับไทยนั้นมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันและสร้างสรรค์ในพัฒนากรอบความร่วมมือนี้ต่อไป พวกเราสมาชิกทั้ง 6 ประเทศที่เชื่อมต่อกันด้วยแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงสายเดียวกัน ต่างก็มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด เป็นเพื่อนบ้านที่ส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยทั้งประโยชน์และศักยภาพต่าง ๆ ขณะเดียวกัน ด้วยที่ตั้งภูมิศาสตร์ที่ติดกัน เราจึงเผชิญความท้าทายร่วมกันด้วย ไม่ว่าจะเป็นความท้าท้ายจากความมั่นคงในรูปแบบต่าง ๆ ภัยธรรมชาติอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือปัญหาเศรษกิฐและคุณภาพชีวิตประชาชน พวกเราจึงจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกันและมียุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกันบนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจเพื่อผลประโยชน์ทุกประเทศที่เท่าเทียม
ฯพณฯ ทั้งหลาย ในวันนี้เราจะได้ร่วมกันมาวางรากฐานสำคัญของกรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง-ล้านช้างที่จะได้ครอบคลุมถึงทั้งการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึงสังคม วัฒนธรรมและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชน ซึ่งยังต้องสอดคล้องกับสามเสาหลักของอาเซียนในการลดช่องว่างการพัฒนา ซึ่งจะสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียน สอดคล้องเป้าหมายวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนค.ศ. 2030
เราจะต้องเน้นผลลัพท์ที่เป็นรูปธรรม ยึดหลักฉันทมติความเสมอภาค การเคารพ และการมีความรับผิดชอบร่วมกัน การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกประเทศ เพื่อจะเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและประโยชน์ที่เท่าเทียมกันของประเทศสมาชิก โดยยึดมั่นตามพันธกรณีระหว่างประเทศ นอกจากนั้น กรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง-ล้านช้างนี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาความร่วมมือของกลุ่มประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงอย่างค่อยเป็นค่อยไปสู่ความเป็นประชาคมแม่น้ำโขงในอนาคต โดยแม่น้ำโขงจะเป็นสายใยที่ผูกพันประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขงที่ดื่มน้ำจากแม่น้ำเดียวกัน โดยที่กรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง-ล้านช้างก่อตั้งขึ้นท่ามกลางกรอบความร่วมมือภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่มีอยู่แล้วหลายกรอบ ดังนั้นภารกิจที่ท้าทายของพวกเราก็คือการกำหนดวิสัยทัศน์ของกรอบเพื่อดำเนินการความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ เพิ่มคุณค่าต่อกรอบความร่วมมืออื่นๆ ผมเห็นว่าคุณค่าเพิ่มที่สำคัญประการหนึ่ง จากการที่ตั้งที่ทั้ง 6 ประเทศต่างตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำสายเดียวกัน ควรใช้โอกาสศักยภาพในความร่วมมือกันเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน เพื่อมนุษยธรรมยังประโยชน์ต่อประชาชน ตลอดจนเกษตรกรผู้พึ่งพิงน้ำจากแม่น้ำโขง-ล้านช้างในการดำรงชีวิตในด้านต่างๆ และเผชิญกับความท้าทายจากภาวะทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม ซึ่งเกิดจากการเปลี่นแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความท้าทายที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการกำหนดแนวทางความร่วมมือที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ ไทยยินดีที่ประเทศสมาชิกตกลงที่จะดำเนินโครงการเร่งด่วนที่จะเน้นผลเป็นรูปธรรมภายใน 1-2 ปี ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปประเทศของไทยอีกด้วย ผมหวังอย่างยิ่งว่า ความสำเร็จของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างจะเสริมสร้างให้ทุกประเทศในอนุภูมิภาคของเราก้าวไปด้วยกัน เติบโตขึ้นอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน รวมทั้งเป็นต้นแบบของความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในรูปแบบใต้-ใต้ ที่ประสบความสำเร็จ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและสังคมโลก