สวัสดีครับท่านผู้ฟังที่เคารพ ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการประเด็นวันนี้ ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการคุยกันวันละประเด็น วันนี้ นายชุย อี๋เหมิง ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอภาคภาษาไทยได้มีโอกาสเชิญอาจารย์เกื้อพันธุ์ นาคบุปผา อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้เชี่ยวชาญมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งให้สัมภาษณ์ กรุณาเชิญอาจารย์เล่าถึงการเปลี่ยนและไม่เปลี่ยนของจีนใน 25 ปีที่ผ่านมา ตลอดจนผลงานของจีนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
อาจารย์เกื้อพันธุ์ นาคบุปผา: สวัสดีครับท่านผู้ฟังจากประเทศไทยทั้งหลาย ดิฉันเกื้อพันธุ์ นาคบุปผา เป็นอาจายร์ผู้เชี่ยวชาญภาษาไทยของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง เคยมาทำงานที่นี่ครั้งแรกตั้งแต่ปี 1992 เพราะมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เป็นคู่สัญญาที่แลกเปลี่ยนอาจารย์กัน
ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ: อาจารย์มาประเทศจีนโดยเฉพาะกรุงปักกิ่งเมื่อปี 1992 เป็นครั้งแรก จนถึงปีนี้ก็เกือบ 25 ปีแล้ว ใน25 ปีที่ผ่านมา อาจารย์มีเรื่องที่ประทับใจมากที่สุดอะไรบ้างไหม
อาจารย์เกื้อพันธุ์ นาคบุปผา: ถ้าจะว่าไปแล้วนะคะ ตอนแรกที่คิดจะมานี่ ยอมรับว่า คนที่เป็นครูภาษาไทยซึ่งไม่มีโอกาสที่จะออกไปสอนภาษาไทยในต่างประเทศก็ค่อนข้างหวั่นไหว เพราะว่า ภาษาจีนนั้นเรียนยากมาก เมื่อมาถึงแล้วนี่ ประเทศจีนนี้เป็นเมืองหนาว ก็ไม่เหมือนเมืองไทยซึ่งเป็นเมืองร้อน ดิฉันมาเดือนมีนาคม ต้นไม้ใหญ่ก็เหลือแต่ต้นกับกิ่งก้าน อันนี้ทำให้เรารู้เลยว่า นี่คือต่างประเทศ แต่ว่าคนจีน ความที่เราเป็นเอเชียด้วยกัน จริง ๆ หน้าตาคนจีนกับคนไทยก็คล้ายกันมาก มันทำให้ดิฉันไม่แปลกที่ แล้วต้องยอมรับข้อหนึ่งว่า คนจีนนั้นเป็นคนที่มีน้ำใจ พอเขาเห็นเรายิ้มสองสามครั้ง ในที่สุดก็ยิ้มต่อ ตรงนี้ทำให้เรารู้สึกว่า เราอยู่ได้ นักศึกษารุ่นแรกมีเพียง 9 คน เป็นหนุ่มสัก 7 คน สาว 2 คน นักศึกษาก็ขยัน เป็นนักศึกษาที่ตั้งใจมาก ๆ ชนิดที่ว่า พอได้ยินคำใหม่ ครูเขียนคำใหม่บนกระดาน มือซ้ายเปิดพจนานุกรม มือขาวจดใส่สมุด ทำให้เห็นว่า นักศึกษาจีนขยันจริง ๆ อีกข้อหนึ่งก็คือ บรรดาอาจารย์ในภาควิชา ท่านช่วยเรามาก เวลาที่เรามีปัญหาอะไรต่ออะไร ไม่ว่าจะไม่สบาย ไปโรงพยาบาล เพราะฉะนั้นตรงนี้ มันทำให้เราอยู่ได้
(Cui)