เมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น ที่นครนิวยอร์ค ผู้แทนจาก 171 ประเทศได้ลงนามใน "ข้อตกลงปารีส" ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ โดยมี 15 ประเทศที่ประกอบด้วยประเทศหมู่เกาะกำลังพัฒนาได้ยื่นเอกสารกฎหมายที่ประเทศตนได้อนุมัติ นายจาง เกาลี่ รองนายกรัฐมนตรีจีน ทูตพิเศษของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงได้ลงนามในข้อตกลง ขณะเดียวกันได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจีนจะเสร็จสิ้นขั้นตอนทางกฎหมายภายในประเทศก่อนการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 20 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20 กันยายนปีนี้ สื่อมวลชนมีความเห็นทั่วไปว่า "ข้อตกลงปารีส" จะเริ่มมีผลบังคับใช้ได้ตามเวลากำหนดหรืออาจเร็วกว่ากำหนดด้วย
นายจาง เกาลี่ รองนายกรัฐมนตรีจีน ทูตพิเศษของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้แสดงท่าทีหนักแน่นดังกล่าวขณะกล่าวในพิธีลงนามเมื่อเช้าวันเดียวกัน และยังกล่าวว่า จีนเสนอให้ประเทศกลุ่มจี 20 ผลักดันให้ข้อตกลงได้รับการยอมรับโดยทั่วไปและเริ่มมีผลบังคับใช้เร็ววัน
"ข้อตกลงปารีส"เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่บรรลุไว้เมื่อปลายปี 2015 ต้องการให้ประเทศอธิปไตยต่างๆ ยื่นแผนการเกี่ยวกับการลดการปล่อยมลพิษของตนเอง ต้องการให้มีอย่างน้อย 55 ฝ่ายลงนามและเข้าร่วม "อนุสัญญาว่าด้วยกรอบการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศสหประชาชาติ" นอกจากนี้ จำนวนการปล่อยแก๊สเรือนกระจกก็ต้องเป็นร้อยละ 55 ของปริมาณทั้งหมดทั่วโลก ดังนี้แล้วข้อตกลงจึงจะเริ่มมีผลบังคับใช้
นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติได้เร่งรัดให้ประเทศต่างๆ ผ่านขั้นตอนอนุมัติภายในประเทศโดยเร็ว เพื่อเข้าร่วมข้อตกลงดังกล่าวนี้ได้ในเร็ววัน
"ข้อตกลงปารีส"ได้ระบุปฏิบัติการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทั่วโลกหลังปี 2020 โดยเรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆ ส่งเสริมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยในทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้นให้อยู่ภายใน 2 องศาเมื่อเทียบกับยุคก่อนการเป็นอุตสาหกรรม และจะให้ดีคือพยายามควบคุมให้อยู่ 1.5 องศา
(Yim/zheng)