โดยกล่าวว่า ศูนย์กลางปัญหาทะเลจีนใต้คือ ฟิลิปปินส์ยึดครองหมู่เกาะหนานซาบางส่วนของจีน ทำให้เกิดข้อขัดแย้งกันทางดินแดน และการแบ่งเขตทางทะเลที่เกิดขึ้นจากการสร้างและการพัฒนาระบอบกฎหมายทางทะเลใหม่
เมื่อเดือนมกราคมปี 2013 ฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องและผลักดันการตัดสินข้อพิพาททะเลจีนใต้แต่ฝ่ายเดียว จีนมีจุดยืนที่ไม่ยอมรับและไม่เข้าร่วมโดยสามารถชี้แจ้งเหตุผลได้ดังต่อไปนี้
หนึ่ง จีนและฟิลิปปินส์ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมและบรรลุข้อตกลงแล้ว โดยจะแก้ไขข้อขัดแย้งกันด้วยวิธีการเจรจาระหว่างสองฝ่าย
สอง เมื่อปี 2002 จีนและประเทศอาเซียน รวมถึงฟิลิปปินส์ ลงนามใน "ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้" ซึ่งมาตราที่ 4 กำหนดว่า ข้อขัดแย้งควรแก้ไขด้วยวิธีการเจรจาและการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องโดยตรง
สาม เมื่อปี 2006 จีนประกาศแถลงการณ์เกี่ยวกับการแบ่งเขตทางทะเล การปฏิบัติหน้าที่ทางทหาร และการปฏิบัติราชการตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของมาตราที่ 298 ของ "อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล"
นายโอวหยัง วี่จิ้ง กล่าวว่า "อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล" ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน อีกทั้งจีนประกาศแถลงการณ์เกี่ยวกับปัญหาการแบ่งเขตทางทะเลมาแล้ว ดังนั้น การที่จีนไม่ยอมรับและไม่เข้าร่วมการฟ้องสอดคล้องกับข้อกำหนดในกฎหมายระหว่างประเทศ และสอดคล้องกับ "อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล" การฟ้องร้องคดีข้อพิพาททะเลจีนใต้จึงผิดต่อกฎหมายตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะมีคำตัดสินอย่างไร จีนก็จะไม่ยอมรับ
นอกจากนี้ ยังเน้นว่า การฟ้องร้องของฟิลิปปินส์จะไม่สามารถเปลี่ยนความจริงและประวัติศาสตร์ที่จีนมีอำนาจอธิปไตยเหนือน่านน้ำทะเลจีนใต้และหมู่เกาะใกล้เคียง ไม่สามารถเปลี่ยนการตัดสินใจและความแน่วแน่ของจีนในการป้องกันเอกภาพและสิทธิทางทะเลของตนเอง และจะไม่สามารถเปลี่ยนนโยบายและจุดยืนของจีนที่จะแก้ไขข้อขัดแย้งกันโดยการเจรจาโดยตรง เพื่อร่วมกันรักษาสันติภาพและความมั่นคงของทะเลจีนใต้กับประเทศในภูมิภาค
Toon/chu