บทความชิ้นนี้เริ่มต้นจากคำกล่าวเกี่ยวกับปัญหาทะเลจีนใต้ของพลเรือเอก Harry Harris ผู้บัญชาการกองเรือรบมหาสมุทรแปซิฟิกของกองทัพสหรัฐฯ และของ Daniel Russell รัฐมนตรีช่วยว่าการการะทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งต่างก็ประณามจีนว่าเป็นภัยคุกคามประเทศเพื่อนบ้าน และทำลายความมั่นคงส่วนภูมิภาค
เอกอัครราชทูตจีนประจำอาเซียนระบุในบทความว่า กรณีพิพาทเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือดินแดนและผลประโยชน์ทางทะเลระหว่างจีนกับบางประเทศริมทะเลจีนใต้นั้น มีมานานกว่า 30 ปีแล้ว ตลอดเวลาที่ผ่านมา จีนกับประเทศคู่กรณีร่วมควบคุมสถานการณ์ได้อย่างดี ปัญหาทะเลจีนใต้ไม่ได้กระทบต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศที่เกี่ยวข้อง เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2002 จีนกับทุกประเทศอาเซียนร่วมลงนาม "แถลงการณ์ว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้" เป็นการประกาศอยางเปิดเผยว่า ทุกผ่ายจะเจรจากันอย่างฉันมิตร แก้ไขกรณีพิพาทด้วยสันติวิธี และดำเนินความร่วมมือทางทะเล
ทว่า การเดินหน้ายุทธศาสตร์คืนความสมดุลใหม่ของสหรัฐฯ ทำให้ปัญหาทะเลจีนใต้เป็นที่จับตามองขึ้นทุกขณะ ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2009 เมื่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐกล่าวหาจีนครั้งแล้วครั้งเหล่าเกี่ยวกับนโยบายเหนือปัญหาทะเลจีนใต้ ซึ่งก็คือจุดเริ่มต้นของความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ ดังนั้น สหรัฐฯ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
ปัจจุบัน ปัญหาทะเลจีนใต้กลายเป็นประเด็นร้อนที่รบกวนการประชุมผู้นำอาเซียนและการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และกำลังถูกป่าวร้องให้มีผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของเอเชียตะวันออก หากพิจารณาในจุดนี้แล้ว ท่าทีของสหรัฐฯ ดูเหมือนได้บรรลุวัตถุประสงค์ แต่เมื่อมองในขั้นพื้นฐานแล้ว จะไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเลยที่จะได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริงจากสถานการณ์อันตึงเครียดบนทะเลจีนใต้
TOON/FENG