มาดูคนแรกก่อน คือ ศ.แอลเฟรด ซูนส์ (Alfred Soons) ผู้ตัดสินของคดีนี้ ซึ่งเป็นนักกฎหมายทางทะเลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยอุเทรช(Utrecht University)ของเนเธอร์แลนด์ และเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการสมุทรศาสตร์ภาครัฐสังกัดยูเนสโก้ เขาเคยเขียนบทความอย่างเปิดเผยระบุว่า สำหรับสองประเทศที่เรียกร้องอธิปไตยเหนือน่านน้ำที่ทับซ้อนกันนั้น สถานภาพทางกฎหมายและสิทธิประโยชน์ทางทะเลของเกาะที่เกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ควรมองข้ามว่าเป็นข้อพิพาทจากการแบ่งปันพรมแดนทางทะเลและเกิดเป็นปัญหาขึ้นเอง เพราะเป็นส่วนประกอบที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ในเรื่องการแบ่งปันพรมแดนทางทะเล ทว่า ระหว่างกระบวนการระงับข้อพิพาททะเลจีนใต้ครั้งนี้ ศ.แอลเฟรด ซูนส์ พร้อมกับผู้ตัดสินอื่นๆ รวม 5 คนมองข้ามธาตุแท้ข้อพิพาททะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์ว่า ที่แท้คือ อำนาจอธิปไตยเหนือเกาะต่างๆ และการแบ่งปันพรมแดนทางทะเล โดยลงความเป็นเสียงเดียวกันว่า ศาลมีอำนาจตัดสินอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะหวงเหยียน แนวโขดหินเหม่ยจี้ แนวโขดหินเหรินอ้าย แนวโขดหินจู่ปี้ แนวโขดหินหนานซวิน แนวโขดหินซีเหมิน (รวมแนวโขดหินตงเหมิน) แนวโขดหินชื่อกวา แนวโขดหินหัวหยาง และแนวโขดหินหย่งสู่ ตามที่ฟิลิปปินส์ยื่นฟ้อง ซึ่งขัดกับแนวคิดทางวิชาการของศ.แอลเฟรด ซูนส์อย่างเห็นได้ชัด
ถัดมาอีกคนคือ คลิฟ สกูฟิลด์ (Clive Schofield) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและพยานบุคคล ตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและความมั่นคงทางทะเล มหาวิทยาลัยวูลลองกง (University of Wollongong)ออสเตรเลีย เขายื่นความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานภาพของหมู่เกาะทะเลจีนใต้จากแง่ผู้เชี่ยวชาญตามคำเชิญของฟิลิปปินส์ ซึ่งมีถ้อยคำที่ขัดแย้งกับแนวคิดทางวิชาการของตนเอง ทั้งบิดเบือนข้อเท็จจริงด้วย ขณะตอบคำถามสำคัญๆ ก็พูดยอกย้อนไม่ตรงไปตรงมา
แต่ข้อเท็จจริงจะชนะการพูดตลบตะแลง ระหว่างกระบวนการระงับข้อพิพาททะเลจีนใต้นั้น ผู้ตัดสิน ผู้เชี่ยวชาญ และพยานบุคคลดังกล่าวที่มองข้ามข้อเท็จจริง พูดกลับไปกลับมา ย่อมจะทำให้การตัดสินที่ประกาศออกมาขาดความเที่ยงธรรม
(YIM/LING)