นายอิบราฮิมระบุว่า "คดีข้อพิพาททะเลจีนใต้เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทอธิปไตยเหนือดินแดน จึงไม่ควรรับคดีแต่แรก การพิจารณาและตัดสินยิ่งไม่ต้องพูดถึง" เขาระบุว่า ภายใต้สภาพที่ข้อพิพาทเกาะและแนวโขดหินระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์ยังคงคาราคาซัง การที่ฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องคดีข้อพิพาทจึงไม่ตรงกับการดำเนินตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในสนธิสัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลจีนเคยยื่นแถลงการณ์ตามบทบัญญัติที่ 298 ของอนุสัญญาเมื่อปี 2006 ระบุว่า ข้อพิพาทการปักปันเขตแดนทางทะเลและข้อพิพาทอื่นๆ จะอยู่นอกกระบวนการบังคับระงับข้อพิพาท "การที่ศาลระงับข้อพิพาทมองข้ามข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยกฎหมายของจีนและรับคดีบังคับระงับข้อพิพาทจากฟิลิปปินส์โดยลำพัง ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ หากเป็นการเหยียบย่ำกฎหมายระหว่างประเทศ"
"ตามสนธิสัญญา จีนไม่มีพันธกรณีที่จะต้องยอมรับผลการตัดสินคดีข้อพิพาททะเลจีนใต้ในลักษณะที่เป็นฝ่ายถูกกระทำ จุดยืนของจีนที่ไม่ยอมรับ ไม่ร่วม และไม่รับรองมีข้ออ้างอิงทางกฎหมายอย่างหนักแน่น" นายอิบราฮิมระบุว่า ข้อพิพาทอธิปไตยเหนือดินแดนทะเลจีนใต้นั้น ล้วนไม่ควรกำหนดเวลาชี้ขาด "ข้อพิพาทอธิปไตยเหนือดินแดนไม่ใช่ข้อพิพาทผลประโยชน์แบบง่ายๆ เด็ดขาด แต่มีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่สลับซับซ้อนมาก เกี่ยวข้องกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย และอีกหลายด้าน จึงควรดำเนินการอย่างระมัดระวังและรอบคอบ ไม่ควรเร่งรีบเกินไป มิเช่นนั้นจะก่อให้เกิดการปะทะอย่างดุเดือดขึ้นมาได้ง่าย"
"ข้อเท็จจริงก็พิสูจน์ให้เห็นว่า ตั้งแต่ฟิลิปปินส์ยื่นข้อพิพาททะเลจีนใต้เข้าสู่ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเป็นต้นมา กลายเป็นว่าทะเลจีนใต้ไม่มีความสงบอีก ทำให้จีนต้องใช้มาตรการต่อต้านต่างๆ" นายอิบราฮิมระบุว่า "ฟิลิปปินส์หวังใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทมาเปลี่ยนจุดยืนของจีน นับว่าดีดลูกคิดผิด ในที่สุดก็เป็นการยกก้อนหินขึ้นทุ่มเท้าของตนเอง และทุ่มเท้าของผู้อื่นอีกหลายคน ความตึงเครียดที่ปรากฏขึ้นในทะเลจีนใต้ ล้วนเป็นภัยเสี่ยงประการใหญ่ที่แฝงอยู่สำหรับความมั่นคงของภูมิภาคและความมั่นคงของโลก"
(TOON/LING)