หนังสือพิมพ์เหรินหมินรายงานว่า รายงานของกระทรวงโยธาธิการและขนส่งลาวระบุว่า รถไฟจีน-ลาวจะนำมาซึ่งประโยชน์ที่แท้จริงแก่ประเทศลาวทั้งในด้านการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน การเชื่อมต่อกัน ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ การดึงทุนต่างชาติ และลดต้นทุนการผลิต
ทางรถไฟจีน-ลาวยาว 418 กิโลเมตร ความเร็วอยู่ที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทางเหนือเชื่อมกับทางรถไฟยวี่หมัวในดินแดนจีน ทางใต้เชื่อมกับทางรถไฟจากหนองคายถึงกรุงเทพฯ ของไทย เมื่อสร้างแล้วเสร็จ จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเครือข่ายรถไฟแพนเอเชีย เมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา มีพิธีวางศิลาฤกษ์ทางรถไฟจากเมืองบ่อเต็นถึงกรุงเวียงจันท์จัดอย่างมโหฬารที่กรุงเวียงจันทน์ เดือนมิถุนายนปีนี้ อุโมงค์ทางรถไฟที่เชื่อมต่อจีนกับลาวนั้นเริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการ แสดงว่าทางรถไฟจีน-ลาวเริ่มก่อสร้างอย่างจริงจัง เมื่อเร็วๆ นี้ ลาวกับไทยบรรลุข้อตกลงว่าด้วยการสร้างสะพานสำหรับทางรถไฟข้ามแม่น้ำโขง เป็นการวางรากฐานให้ทางรถไฟจีน-ลาว และจีน-ไทยเชื่อมต่อกันอย่างราบรื่นในอนาคต วันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา บริษัทการรถไฟลาว-จีนที่สองประเทศร่วมลงทุนตั้งขึ้น และรับผิดชอบการสร้างและดำเนินการรถไฟจีน-ลาวนั้นได้รับหนังสืออนุญาตให้ดำเนินธุรกิจจากกระทรวงการแผนการและการลงทุนลาว หมายความว่า บริษัทดังกล่าวได้รับหนังสือยืนยันให้ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นทางการ
รายงานของกระทรวงโยธาธิการและขนส่งลาวระบุว่า ทางรถไฟจีน-ลาวเป็นการสนับสนุนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานในการพัฒนาลาวจากประเทศปิดไม่มีทางออกทางทะเลเป็นประเทศที่มีการเชื่อมต่อกัน ขณะเดียวกัน ก็จะช่วยประเทศลาวขยายความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศอาเซียน ทางรถไฟจีน-ลาวจะเป็นช่องทางสำคัญในการดึงทุนต่างชาติ โดยจะนำมาซึ่งเงินทุน ไฮเทค และทรัพยากรมนุษย์ให้ลาว
เกี่ยวกับนัยในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนลาวของทางรถไฟจีน-ลาว นักวิชาการลาวเห็นว่า หลังสร้างทางรถไฟจีน-ลาวเสร็จ จะเปลี่ยนสภาพที่ราคาสินค้าลาวค่อนข้างสูง โดยเฉพาะจะผลักดันการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนภาคเหนือ ซึ่งเป็นดินแดนที่ห่างไกลของลาวอย่างเห็นได้ชัด
(In/cici)