เมื่อเร็วๆ นี้ การประชุมเกี่ยวกับกำหนดการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2030 จัดขึ้นที่กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย นายสวี ปู้ เอกอัครราชทูตจีนประจำอาเซียน นายวงศ์เทพ อรรถไกวัลวที .รองเลขาธิการอาเซียน และนายสวี เฮ่าเหลียง ผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานโครงการเพื่อการพัฒนาสหประชาชาติและอธิบดีกรมเอเชียแปซิฟิกแสดงความเห็นเกี่ยวกับการสร้าง "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" และการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างยั่งยืน
โดยนายสวี ปู้ระบุว่า อาเซียนเป็นจุดสำคัญในการสร้าง "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ของจีน การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นเป้าหมายสำคัญของการสร้างประชาคมอาเซียน จีนในฐานะเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถือการพัฒนาอย่างยั่งยืนและส่งเสริมการสร้างอารยธรรมของภาวะนิเวศเป็นนโยบายพื้นฐานของรัฐ บนหนทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จีนเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับประเทศอาเซียนมากที่สุด ตั้งแต่ผู้นำจีนกับประเทศอาเซียนประกาศ "แถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน"เมื่อเดือนตุลาคมปี 2010 เป็นต้นมา ความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายได้รับผลที่ดีในด้านการลดความยากจน พลังงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสร้างประชาคมอาเซียน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการรับมือกับภัยพิบัติ
นายวงศ์เทพ อรรถไกวัลวที ระบุว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่ใช่เรื่องของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือของภูมิภาคใดเท่านั้น ต้องเปิดกว้างทั่วโลก เป้าหมายสำคัญของการสร้าง "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง"คือแก้ไขปัญหาการประสานงานการติดต่อกัน ซึ่งสอดคล้องกับความสนใจของสมาชิกอาเซียนด้วย
นายสวี เฮ่าเหลียงกล่าวว่า ประเด็นหลักของสมัชชาสหประชาชาติปีนี้คือ "เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน:แรงผลักดันสากลเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกของเรา" การสร้าง"หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง"เป็นคุณูปการของจีน เน้นด้านการประสานติดต่อกัน การลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการไปมาหาสู่กันของบุคคล มีบทบาทสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาการพัฒนาร่วมกัน สหประชาชาติร่วมมือกับจีนและอาเซียนจะแสดงบทบาทมากยิ่งขึ้นในด้านดังกล่าว
In/LR