กฎหมายคิด ยอง-รันมีอีกชื่อหนึ่งว่า กฎหมายห้ามรับคำขอและทรัพย์สินของมีค่าโดยมิชอบ เสนอให้บัญญัติขึ้นมาโดยนางคิด ยอง-รัน ประธานตุลาการที่เป็นสตรีคนแรกของเกาหลีใต้ ขอบข่ายการบังคับใช้และความเข้มข้นของกฎหมายฉบับนี้ ทำให้ชาวเกาหลีใต้ไม่น้อย "หวาดหวั่น" เพราะเป้าหมายการตรวจสอบไม่ได้จำกัดอยู่ที่ข้าราชการเท่านั้น หากยังรวมไปถึงพนักงานของรัฐ ครู อาจารย์ ทนายความ สื่อมวลชน ตลอดจนครอบครัวของคนกลุ่มดังกล่าว สถิติจากคณะกรรมการสิทธิประโยชน์พลเมืองเกาหลีใต้ระบุว่า กฎหมายคิม ยอง-รัน จะมีผลบังคับใช้กับกว่า 4,000,000 จาก 40,919 องค์กรทั่วประเทศ
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการรับทรัพย์สมบัติของมีค่าถือเป็นเนื้อหาสำคัญที่สุดของกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งระบุว่า กรณีที่ข้าราชการได้รับเชิญให้ร่วมงานเลี้ยง ค่าใช้จ่ายต่อหัวไม่ให้เกิน 30,000 วอน(ประมาณ 27 ดอลลาร์สหรัฐ) ส่วนของขวัญที่รับได้ห้ามมีมูลค่าสูงกว่า 46 ดอลลาร์สหรัฐ กรณีรับเงินแสดงน้ำใจจากทั้งพิธีสมรสและงานศพไม่ให้เกิน 92 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้แล้ว ถ้ารับทรัพย์สมบัติของมีค่าที่มีมูลค่าเกิน 920 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในงวดเดียว หรือรับทรัพย์ 3 งวดจากคนคนเดียวกันที่มีมูลค่ารวมเกิน 2,760 ดอลลาร์สหรัฐ ก็จะถูกตัดสินลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 27,600 ดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2011 นางคิด ยอง-รัน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการสิทธิประโยชน์พลเมืองเกาหลีใต้ เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า มีความจำเป็นต้องบัญญัติกฎหมายเพื่อสร้างยุติธรรมและความโปร่งใส่ให้แก่สังคมเกาหลีใต้ ต่อมา เมื่อเดือนเมษายนปี 2013 มีการยื่น ร่างกฎหมายคิด ยอง-รัน ต่อรัฐสภาเกาหลีใต้ แต่พรรครัฐบาลกับพรรคฝ่ายค้านมีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้หลังการยื่นเป็นเวลา 5 ปี รัฐบาลเกาหลีใต้ถึงจึงได้ประกาศให้กฎหมายคิด ยอง-รันมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ
IF