เดือนกันยายนปี 2013 นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนกล่าวสุนทรพจน์ระหว่างเยือนประเทศคาซัคสถานว่า เราควรจะร่วมกันพัฒนาแถบเศรษฐกิจตามเส้นทางสายไหม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุโรปและเอเชีย ลงลึกความร่วมมือระหว่างกัน และสร้างโอกาสการพัฒนามากขึ้น นี่เป็นภารกิจอันยิ่งใหญ่ของประชาชนทุกประเทศตามเส้นทางดังกล่าว นทรพจน์ครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงริเริ่มยุทธศาสตร์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง"
หลังจากนั้นหนึ่งเดือน นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนกล่าวสุนทรพจน์ที่รัฐสภาอินโดนีเซียระหว่างเยือนประเทศอินโดนีเซีย โดยได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" อีกครั้งว่า จีนยินดีกระชับความร่วมมือทางทะเลกับอาเซียน เพื่อร่วมสร้างเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21
"หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ผ่านทวีปยุโรป และเอเชีย ครอบคลุมประชากร 4,400 ล้านคน คิดเป็น 63% ของประชากรโลก และยอดเศรษฐกิจ 23,000,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็น 29% ของเศรษฐกิจโลก นักวิเคราะห์เห็นว่า ยุทธศาสตร์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ไม่เพียงเป็นการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจในลักษณะเปิดสู่ภายนอกของจีนในระยะกลาง และระยะยาวเท่านั้น หากยังเป็นการวางแผนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้ประสบความสำเร็จร่วมกันด้วย
เมื่อเร็วๆ นี้ นายหลิว หงโป รองเลขาธิการสหประชาชาติกล่าวว่า ยุทธศาสตร์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 ของสหประชาชาติ และจะแสดงบทบาทสำคัญในกระบวนการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว
เจตนารมณ์ที่สำคัญที่สุดในการดำเนินยุทธศาสตร์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" คือ ให้ประสบชัยชนะร่วมกัน พัฒนาร่วมกัน และมีความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ส่วนหลักการขั้นพื้นฐานของยุทธศาสตร์นี้ คือสันติภาพ ความร่วมมือ เปิดสู่ภายนอก ยอมรับกันและกัน เข้าใจกัน และไว้เนื้อเชื่อใจกันก็สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 ของสหประชาชาติเช่นกัน นอกจากนี้ การดำเนินยุทธศาสตร์นี้จะเน้นการประสานงานและเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศใน 5 ด้าน คือ นโยบาย การคมนาคม การค้า การเงิน และมติของประชาชน สิ่งเหล่านี้ก็มีส่วนเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
(IN/cai)