เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ข้อตกลงปารีสที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสภาพภูมิอากาศของโลกมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ นายโจว จี้ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศแห่งชาติระบุว่า จีนได้ใช้ความพยายามทั้งในด้านเทคโนโลยี การจัดระบบระเบียบและแนวความคิดด้านการพัฒนา เพื่อบรรลุเป้าหมายเพดานการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดได้ล่วงหน้า อีกทั้งยังปรับปรุงโครงสร้างด้านพลังงานและอุตสาหกรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และบำรุงสุขแก่ประชาชน
สถิติระบุว่า จนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มี 92 ประเทศภาคีได้พิจารณาอนุมัติข้อตกลงปารีส ซึ่งมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมเป็นร้อยละ 65.82 ของโลก นายเซี่ย เจิ้งหัว ผู้แทนพิเศษกิจการการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจีนระบุว่า จีนได้แสดงบทบาทสำคัญในการบรรลุ ลงนามและให้มีผลบังคับใช้ ของข้อตกลงปารีส ได้ปูพื้นฐานให้กับการแก้ไขข้อขัดแย้งสำคัญบางอย่าง ซึ่งรัฐบาลจีนเสนอว่า จะให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงเพดานตัวเลขสูงสุดในปี 2030
นายโจว จี้ระบุว่า เพดานตัวเลขสูงสุดของจีนต่ำกว่าสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก และจะไม่เกินเพดานขสูงสุดของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นด้วย ทั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่า จีนเป็นประเทศที่มีความรับผิดชอบต่อโลก
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนได้ใช้ความพยายามอย่างแข็งขันในด้านลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปีฉบับที่ 12(ช่วงปี 2011-2015) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของจีนได้ลดลงร้อยละ 20 ทะลุเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 17 ด้วยนอกจากนั้น โครงสร้างด้านพลังงานได้รับการปรับปรุงดีขึ้น เมื่อปี2015 ที่ผ่านมา สัดส่วนการใช้พลังงานที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงจากฟอสซิล( Non-fossil)เป็นร้อยละ 12 ได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 11.4 ต่อไปในอนาคต จีนจะปรับโครงสร้างทางพลังงานและโครงสร้างอุตสาหกรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภายใต้กรอบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน