สถานีวิทยุซีอาร์ไอรายงานว่า เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ นายหลิว เจิ้นหมิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนพบปะกับผู้แทนทูตานุทูตประจำจีนของทั้ง 10 ประเทศอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-อาเซียนในปี 2017
นายหลิว เจิ้นหมินกล่าวว่า ปีนี้ ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนจะย่างเข้าสู่ช่วง 25 ปีใหม่ ขณะเดียวกันก็เป็นปีครบ 50 ปีการก่อตั้งอาเซียน จีนรู้สึกดีใจต่อการพัฒนาของอาเซียน หวังว่า ประเทศอาเซียนทั้งหลายจะมีความสามัคคี เข้มแข็งและเจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้นในอนาคต จีนเสนอว่า ในปี 2017 สองฝ่ายจะยึดถือความมั่นทางการเมือง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้า และการแลกเปลี่ยนทางสังคม วัฒนธรรมและบุคลากรเป็น 3 เส้าชูหลัก ลงลึกเดินหน้าความร่วมมือใน 7 ปริมณฑล พร้อมให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานใน 6 ด้านดังต่อไปนี้
หนึ่ง.เตรียมงานการจัดการประชุมความร่วมมือเอเชียตะวันออก การประชุมความร่วมมือของรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชียตะวันออก และการประชุมความร่วมมือผู้นำประเทศเอเชียตะวันออก ซึ่งต่างก็เป็นโอกาสและเวทีสำคัญแห่งการเพิ่มคุณภาพและยกระดับความร่วมมือจีน-อาเซียนอย่างแท้จริง สามารถจัดขึ้นให้ได้ตามลำดับในเดือนสิงหาคมและพฤศจิกายนนี้ ทุกฝ่ายต้องตั้งใจเตรียมงานอย่างรอบคอบ ประกันให้การประชุมสำเร็จลุล่วงและได้รับผลงานที่สมบูรณ์
สอง.ลงลึกเชื่อมต่อยุทธศาสตร์การพัฒนา จีนยินดีจะยกระดับการต่อเชื่อมยุทธศาสตร์การพัฒนากับอาเซียนภายใต้ข้อเสนอ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับ "แผนแม่บทว่าด้วยการเชื่อมระหว่างกันในอาเซียน 2025" ผลักดันโครงการความร่วมมือจำนวนมากขึ้นให้เดินหน้าอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมความร่วมมือด้านการเชื่อมต่อระหว่างกันอย่างเป็นขั้นตอนและมีพลัง
สาม.ขับเคลื่อนความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและบุคลากรให้เป็นเสมือนอีกหนึ่งเสาหลัก สองฝ่ายควารใช้โอกาสปีแห่งความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวจีน-อาเซียน เพิ่มการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างเต็มความสามารถ พร้อมจัดตั้งกลไกความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
สี.ลงลึกดำเนินความร่วมมือที่มุ่งผลจริง พวกเราควรปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฉบับที่ 3 ความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนยุทธศาสตร์จีน-อาเซียน ปฏิบัติตามข้อเสนอที่มีอยู่แล้วให้ได้ผลจริง ส่งเสริมให้การยกระดับเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนกระจ่ายผลประโยชน์สู่ทุกประเทศ
ห้า.กระชับความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคให้กลายมาเป็นแรงกระตุ้นการเติบโตใหม่ ปัจจุบัน ความร่วมมือประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้างแม่น้ำโขงเข้าสู่ช่วงปฏิบัติการใหม่อย่างรอบด้าน และได้สร้างผลสำเร็จที่แท้จริงบ้างแล้ว จนยินดีจะใช้ความร่วมมือกับเหล่าประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้างแม่น้ำโขงเป็นวิธีในการช่วยประเทศอาเซียนลดความเหลื่อมล้ำภายใน และยินดีต้อนรับประเทศอาเซียนอื่นๆ ที่ไม่ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงเข้ามามีส่วนร่วม
หก จัดการปัญหาทะเลจีนใต้ด้วยดี หลังผ่านเหตุการณ์อ่อนไหวและการปรับตัวในปี 2016 สถานการณ์ทะเลจีนใต้กลับคืนสู่การเจรจาอีกครั้ง คติสอนใจสำคัญอย่างหนึ่งคือ การแทรกแซงของอิทธิพลนอกภูมิภาคนั้น ไม่สามารถนำมาซึ่งสันติภาพและความสงบสุขที่แท้จริงแก่ทะเลจีนใต้ หากแต่จะสร้างโจทย์ที่แก้ยากสำหรับความมั่นคงภายในภูมิภาค และสร้างความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของจีนกับประเทศอาเซียน
TF