ศิลาจารึกเหล่านี้มีเนื้อหาอุดมสมบูรณ์หลากหลาย ทั้งด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวรรณกรรม เป็นต้น เทียบได้กับเป็นสารานุกรมของสมัยโบราณ เมื่อเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ ศิลาจารึกแท่งแรกที่เห็น คือ แท่งศิลาคัมภีร์ความกตัญญู (石台孝经) ซึ่งประพันธ์โดยจักรพรรดิเสวียนจง(หลี่หลงจี)แห่งราชวงศ์ถัง โดยสูง 6.2 เมตร มีสลักตัวอักษรจีนทั้งหมด 4 ด้าน แต่ละด้านกว้าง 1.2 เมตร เป็นโบราณวัตถุสำคัญระดับชาติ เนื้อหาเกี่ยวกับกตัญญู ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสมัยราชวงศ์ถัง
เนื้อหาบนศิลาจารึกในพิพิธภัณฑ์มีความหลากหลาย ทั้งคัมภีร์ลัทธิขงจื๊อ ผลงานเขียนของนักเขียนพู่กันจีนสมัยโบราณ และบทกวี เป็นต้น ซึ่งภายในอาคารยังมีเจ้าหน้าที่สาธิตการพิมพ์ลอกเนื้อหาบนศิลาจารึกลงแผ่นกระดาษในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการพิมพ์คัดลอกในปัจจุบัน ยกตัวอย่าง บทความเรื่องการปวดท้อง(肚痛贴) โดยจาง ซี่ว์ นักเขียนพู่กันจีนสมัยราชวงศ์ถัง ความยาวประมาณ 30 ตัวอักษรจีน เป็นการบอกเล่าอาการปวดท้องของตนเอง ซึ่งตัวอักษรสองตัวแรกมีความชัดเจนดี แต่คำต่อๆ มายิ่งเขียนยิ่งหวัดยิ่งอ่านไม่ออกว่าเป็นคำอะไร เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์อธิบายว่า น่าจะเพราะระหว่างเขียนความรู้สึกเจ็บปวดมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แสดงให้เห็นนิสัยความชอบอิสระเสรีของผู้เขียน