พิพิธภัณฑ์เครื่องทองสัมฤทธิ์โบราณเมืองเป่าจี
เมืองเป่าจีตั้งอยู่ทางตะวันตกของมณฑลส่านซี เป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมของภาคตะวันตกเฉียงเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนตั้งแต่สมัยโบราณ วัฒนธรรมของหลายชนเผ่าถูกหลอมรวมไว้ที่นี่ และเป็นหนึ่งในแหล่งสำคัญของอารยธรรมของราชวงศ์โจวและราชวงศ์ฉิน ใต้พื้นดินมีวัตถุโบราณฝังอยู่มากมาย เป็นพื้นที่ที่มีเครื่องทองสัมฤทธิ์ของสมัยราชวงศ์โจวและราชวงศ์ฉินมากที่สุดของจีน จึงเรียกว่าเป็น "แหล่งเครื่องทองสัมฤทธิ์"
พิพิธภัณฑ์เครื่องทองสัมฤทธิ์ของเมืองเป่าจีเก่าสร้างขึ้นเมื่อค.ศ. 1956 พิพิธภัณฑ์ใหม่สร้างขึ้นเมื่อค.ศ. 2010 มีเนื้อที่ 34,800 ตารางเมตร เป็นพิพิธภัณฑ์ทางด้านเครื่องทองสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน มีวัตถุโบราณกว่า 12,000 ชิ้น เพราะเครื่องสัมฤทธิ์ในพิพิธภัณฑ์มีจำนวนมาก หลายชนิด รูปทรงสวยงามประณีต และตัวอักษรเนื้อหาสำคัญ ซึ่งหายากมากในประวัติศาสตร์ทางศิลปะและวัฒนธรรมของโลก รูปทรงของอาคารเป็นเครื่องทองสัมฤทธิ์ที่ใช้เก็บหรือบรรจุเหล้าดื่ม ชื่อว่า "ติ่ง" 鼎 ซึ่งตัวเล็ก 4 ตัวอยู่รอบตัวใหญ่ 1 ตัว ติ่งทั้ง 5 อยู่บนดาดฟ้าสูง 5 เมตรเพื่อแสดงความหมายที่มีความสามัคคี เอกภาพ สันติภาพ และความเจริญรุ่งเรือง การจัดแสดงประจำในพิพิธภัณฑ์มี 4 ส่วน ได้แก่ บ้านเกิดของเครื่องทองสัมฤทธิ์ แหล่งอารยธรรมสมัยราชวงศ์โจว เส้นทางสู่ประเทศแข็งแกร่ง แสงสว่างแห่งสติปัญญา
ที่พิเศษคือ เครื่องทองสัมฤทธิ์ในพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่มีการสลักตัวอักษรเล่าเรื่องราวไว้บนภาชนะแกะสลักอยู่ในเครื่อง ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่กลางสมัยราชวงศ์ซาง แต่นิยมขึ้นเมื่อสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องทางประวัติศาสตร์ เช่น การจัดเซ่นไหว้บูชา สงคราม การทำสนธิสัญญา เป็นต้น เพื่อเป็นที่ระลึก ที่น่าสนใจคือ ไม่ใช่ภาชนะทุกชิ้นจะมีขนาดใหญ่และปากกว้างหมด บางเครื่องมีปากแคบมากจนมือก็เข้าไม่ได้ ในสมัยโบราณ ไม่มีเทคโนโลยีทันสมัยเหมือนปัจจุบัน บรรพบุรุษแกะสลักตัวอักษรมากมายเหล่านี้อย่างไร เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์มาก
แม้ว่าพิพิธภัณฑ์เครื่องทองสัมฤทธิ์ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเหมือนกับวัดฝ่าเหมินและสวนธรรมชาติต่างๆ แต่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์พิเศษมากที่สุดของเมืองเป่าจี