เมื่อทศวรรษปี 1950-1960 ระบบนิเวศในทะเลสาบหงหูมีความสมบูรณ์มาก มีพืชน้ำกว่า 500 ชนิด ปลากว่า 60 ชนิด และนกน้ำกว่า 130 ชนิด ช่วงฤดูหนาวของทุกปี จะมีนกจากภาคเหนือของจีนบินมาหนีหนาว และอาศัยอยู่ที่นี้
อย่างไรก็ตาม การมีพืชน้ำที่มากเกินไปก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไป เพราะจะ
ทำให้คุณภาพน้ำในทะเลสาบแย่ลง จนในที่สุด ก็จะกลายเป็นหนองบึง
ขนาดเล็ก
เมื่อกลางทศวรรษ 1980 ทะเลสาบหงหูเคยเผชิญกับปัญหาดังกล่าว นัก
วิชากาและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องพยายามหาวิธีแก้ไขปัญหานี้ จน
สุดท้าย ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ก็ลงความเห็นว่า ควรนำปลามาเลี้ยงใน
ทะเลสาบ เพื่อพืชน้ำในทะเลสาบได้กลายมาเป็นอาหารของปลา
ปริมาณพืชน้ำก็จะลดน้อยลง คุณภาพน้ำในทะเลสาบก็จะดีขึ้น
นายเจิง เสี่ยวตง รองอธิบดีกรมอนุรักษ์เขตธรรมชาติระดับชาติ
ทะเลสาบหงหูกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า
" เมื่อปีค.ศ. 1986 การทดสองเลี้ยงปลาในทะเลสาบหงหู เพื่อลด
ปริมาณพืชน้ำก็ประสบความสำเร็จ และก็สำเร็จเรื่อยมาจนถึงปีค.ศ.
1995 พื้นที่เลี้ยงปลาในทะเลสาบหงหูอยู่ระหว่าง 22---34
ตารางกิโลเมตร ไม่เกิน 10% ของพื้นที่ทะเลสาบตามที่กฎหมาย
กำหนดไว้ ช่วงเวลานั้น ระบบนิเวศของเขตพื้นที่ทะเลสาบหงหูมี
ความสมบูรณ์ การเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่นๆที่มีจำนวนจำกัด
ในทะเลสาบไม่ได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของเขตพื้นที่นี้มาก
จนเกินไป"
แต่หลังปีค.ศ.1995 เมื่อนักธุรกิจจำนวนมากจากทั่วประเทศเห็นช่องทางพากันมาลงทุนธุรกิจเลี้ยงปลาที่ทะเลสาบหงหูกันมากขึ้น ทำให้ธุรกิจเลี้ยงปลาที่ทะเลสาบหงหูเติบโตไม่เป็นระเบียบ จากข้อมูลของกรมอนุรักษ์เขตธรรมชาติระดับชาติทะเสาบหูหง ปีค.ศ.2004 พื้นที่เลี้ยงปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่นๆในทะเลสาบหงหูมีมากกว่า 233 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นถึงกว่า 60% ของพื้นที่ผิวน้ำทั้งหมด ธุรกิจเลี้ยงปลาที่เติบโตอย่างไม่เป็นระเบียบทำให้คุณภาพน้ำของทะเลสาบแย่ลงมาก จากพื้นที่ที่เคยมีพืชน้ำปกคลุมกว่า 98.6% ลดลงมาเหลือเพียง 40% เท่านั้น นกหลายล้านตัวจากภาคเหนือที่เคยอพยพหนีนาวและอาศัยอยู่ที่นี่ช่วงหน้าหนาวก็มีจำนวนลดน้อยลง เหลือเพียงประมาณ 4,000 ตัวเท่านั้น ทรัพยากรปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่นๆตามธรรมชาติในทะเลสาบก็ได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรงเช่นกัน เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลสาบกลายสภาพมาเป็นสถานที่เลี้ยงปลาของมนุษย์ นับตั้งแต่ปี ค.ศ.2004 ปลาที่เติบโตขึ้นตามธรรมชาติในทะเลสาบหงหูแทบไม่หลงเหลืออีกแล้ว