วัฒนธรรมบนเส้นทางสายไหมใหม่: การเรียนรู้ผ่านศิลปะ
  2017-12-05 21:30:17  cri

4.

วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ถ้าเอ่ยถึงเมื่อไรก็คุยได้ไม่รู้จบ ยุทธศาสตร์ของมนุษยชาติที่ควรให้ความสำคัญและวิเคราะห์มากขึ้นคือหัวข้อเกี่ยวกับ "วัฒนธรรมช่วงยุคใหม่" หากจะบอกว่า "ยุคเก่า" ของประเทศจีนเต็มไปด้วยชนชั้นศักดินา ก็ต้องบอกว่าคำว่า "ยุคใหม่" มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง ช่องว่างระหว่างชนชั้นเริ่มเลือนหายไป

วัฒนธรรมยุคใหม่ทำให้ชีวิตคนเรามีความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด นำมาซึ่งความสะดวกสบายและวิถีชีวิตที่ต่างไป เช่น การนั่งรถไฟความเร็วสูงแทนการเดินทางด้วยเท้าหรือม้า การใช้เทคโนโลยีการเกษตรมาช่วยเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยว เป็นต้น

วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงภาษาการศึกษา เช่นที่ประเทศไทย อดีตมีการห้ามไม่ให้เรียนภาษาจีน ปัจจุบันทั่วโลกมีแต่คนอยากเรียนภาษาจีน ที่ไทยจำนวนคนขอทุนจะไปเรียนจีนมากล้นจนมีเท่าไรก็ไม่พอ ในทางกลับกัน เด็กนักเรียนจีนเองก็อยากมาเรียนที่เมืองไทยมากขึ้น

ถึงกระนั้นไม่ว่าจะวัฒนธรรมยุคใหม่หรือเก่า อุดมการณ์หรือจุดประสงค์ ในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม คือความต้องการผูกมิตรนั้นยังคงเป็นหัวใจหลัก ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด

บรรยากาศภายในงานสัมมนา

หมายเหตุ: บทความนี้สรุปแบ่งเป็นเรื่องๆ โดยรวบรวมข้อมูลจากบทบรรยายของวิทยากรผู้มาร่วมเสวนาในกิจกรรมนิทรรศการผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยของศิลปินหญิงชาวจีน(World Tour) "อารยธรรมเดินทางบนเส้นทางสายไหม-รหัสลับแห่งความรัก" เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2560 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน กรุงเทพฯ โดยแต่บทเป็นของผู้บรรยาย ได้แก่

1. อาจารย์เฉิน เซิ่งไหล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแห่งชาติ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และสมาคมศึกษาวัฒนธรรมสากลแห่งนครเซี่ยงไฮ้

2. อาจารย์เริ่น อี้หมิง หัวหน้าภาควัฒนธรรมนานาชาติศึกษา ศูนย์วิจัยแห่งชาติ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และสมาคมศึกษาวัฒนธรรมสากลแห่งนครเซี่ยงไฮ้

3. อาจารย์สมปอง สงวนบรรพ์ - คณบดีสถาบันการทูตและการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต

4. คุณพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีน และส่งเสริมความสัมพันธ์

----------------------------------------------------------------

เรียบเรียงและรายงาน: อรอนงค์ อรุณเอก 林敏儿


1  2  3  
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040