วัฒนธรรมบนเส้นทางสายไหมใหม่: การเรียนรู้ผ่านศิลปะ
  2017-12-05 21:30:17  cri

1.

เส้นทางสายไหมถือได้ว่าเป็นเส้นทางแห่งความหวัง มิตรภาพ เหนือกาลเวลา เหนือขอบเขตจำกัดด้านพื้นที่

ถึงแม้ว่าจะระบุว่า เส้นทางสายไหมมีประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบนี้ 65 ประเทศ แต่ "เบลท์ แอนด์ โรด" หรือเส้นทางสายใหม่ยุคใหม่ที่จีนเสนอขึ้นมานั้นหมายความรวมมากกกว่า 65 ประเทศที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ได้

"เส้นทางสายไหม" ชื่อนี้ตั้งขึ้นตามเส้นทางการค้า "ผ้าไหม" ซึ่งเป็นสิ่งทอที่ทำหน้าที่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องนุ่มห่ม สิ่งแสดงให้เห็นถึงความทันสมัย รสนิยม ความสร้างสรรค์ แต่ทว่าระหว่างทางนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ผ้าไหมเท่านั้น สมัยก่อนขุนนางหรือชนชั้นสูงจะรู้สึกภูมิใจและเป็นเกียรติที่ได้เป็นเจ้าของผ้าไหม แต่การใช้เครื่องปั้นดินเผาจีน (กังไส) ใบชา องุ่น วอลนัท ทับทิม ปวยเล้ง ฯลฯ ของมีราคาพวกนี้เป็นของฟุ่มเฟือยที่เชิดหน้าชูตา แสดงฐานะทางสังคมของผู้ใช้

และในทางกลับกัน ของที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมจีนแท้ๆ เช่นเครื่องดนตรีจีน ผีผา ซอสามสาย และอีกหลายชนิดได้รับอิทธิพลจากประเทศอื่นๆ ในเส้นทางสายไหม สิ่งเหล่านี้คือเครื่องยืนยันการแลกเปลี่ยนและการหลอมรวมทางวัฒนธรรมได้อย่างดี

ผ้าไหมที่สตรีนิยมสวมใส่มีความหมายทางวัฒนธรรมซ่อนอยู่มากมาย

การแลกเปลี่ยนเริ่มต้นด้วยสิ่งของ และขยายไปจนถึงภาษา เทคโนโลยี ตัวอักษร การศึกษา จนไปถึงแนวความคิดต่างๆ

"หยัง กูเจีย" อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น เซี่ยงไฮ้ และมหาวิทยาลัยนอตติ้งแฮมเคยกล่าวไว้ในผลงานหนังสือ "จากฟู่ตั้นสู่นอตติ้งแฮม" ว่า 120 ปีก่อนคริสตศักราช จางเชียนเขียนไว้ในบันทึกประวัติศาสตร์เดินทางไปตะวันตกว่า ระหว่างการเดินทางเขาได้พบผ้าไหมและเครื่องปั้นดินเผาของจีนในดินแดนอันไกลโพ้น สิ่งนี้เป็นเครื่องยืนยันว่าแท้จริงแล้วสิ่งของเหล่านั้นได้เดินทางไปถึงที่นั่นหลายร้อยปีแล้วก่อนที่เขาจะไปพบด้วยตาตนเองเสียอีก

เราจะเห็นได้ว่าบนเส้นสายสายไหมนี้ กลุ่มพ่อค้าไม่ได้นำเฉพาะสินค้าไปแลกเปลี่ยน แต่ยังนำค่านิยมและวิถีชีวิตติดตัวไปด้วยโดยไม่รู้ตัว

วัฒนธรรมคือการแสดงออกถึงวิถีชีวิต ภูมิปัญญา และค่านิยม การค้าขายจึงนำมาซึ่งการสร้างนวัตกรรมและการผสมผสานทางความคิด ดังนั้น ผ้าไหมจึงไม่ใช่แค่มีประโยชน์ในฐานะเครื่องนุ่งห่ม แต่ยังแสดงให้เห็นถึงการแต่งกาย วัฒนธรรมการบริโภค และสุนทรียศาสตร์

"ผ้าไหม" เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยของชาวโรมัน ราคา 1 ปอนด์ เท่ากับทองคำ 12 ตำลึง ในยุคนั้น หญิงสาวโรมันที่นิยมแต่งกายด้วยผ้าไหมไปตามที่ต่างๆ มักถูกตำหนิและมีความเห็นแย้งว่า หญิงสาวในชุดผ้าไหมลื่นนุ่มบอบบางนั้น เป็น "การแต่งกายไม่เหมาะสม" โดยให้เหตุผลว่า "หากเสื้อผ้านั้นไม่สามารถปกปิดร่างกายได้ สิ่งนั้นสมควรเรียกว่าเสื้อผ้าได้อีกหรือ?"

สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความคิดที่แตกต่าง และความนิยมในผ้าไหมจีนของหญิงสาววัยรุ่นโรมันในสมัยนั้น

การแลกเปลี่ยนบนเส้นทางสายไหมสามารถ "ข้าม" ได้ (แทบ) ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ระบอบการปกครอง หรือแม้แต่ค่านิยม ช่วยเสริมสร้างความแตกต่างลงไปในวัฒนธรรมท้องถิ่น ถือเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

สำหรับนิทรรศการ "อารยธรรมเดินทางบนเส้นทางสายไหม-รหัสลับแห่งความรัก" ในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงทัศนคติของผู้หญิงจีนที่มีต่อความงาม สตรีชาวจีนแต่ละคนก็มีความใฝ่ฝันและความคิดที่มีต่อความงามแตกต่างกัน มีความหลากหลาย เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่เล่าเรื่องราวต่างๆ ของจีนให้ชาวโลกรับรู้ ช่วยเติมแต่งให้เส้นทางสายไหมมีชีวิตชีวา โดยอาจสรุปได้ว่าการเข้าถึงใจในระดับประชาชนคือหัวใจสำคัญของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในยุคใหม่นี้

อาจารย์เฉิง เซิ่งไหลกำลังบรรยายเรื่องเส้นทางสายไหม

1  2  3  
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040