กลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ผลักดันการพัฒนาของความสัมพันธ์จีน –ไทย
  2018-01-08 15:05:21  cri
สถานีวิทยุซีอาร์ไอรายงานว่า วันที่ 10 ธันวาคมนี้ การประชุมผู้นำกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขงครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นที่กัมพูชา ผู้นำ 6 ประเทศได้แก่ จีน ไทย กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนามจะเข้าร่วมการประชุม ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กลไกความร่วมมือนี้ประสบผลสำเร็จที่น่าจับตามอง ประเทศในลุ่มแม่น้ำนี้ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน สำหรับจีนและไทย กลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง ก็เป็นพลังขับเคลื่อนใหม่ของการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ

พลังขับเคลื่อนใหม่นี้ เกิดจากความปรารถนาอันแรงกล้าของจีนและไทย ที่จะผลักดันความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง ซึ่งไทยเป็นประเทศสมาชิกสำคัญของอาเซียน

เมื่อปี 2012 ก็ได้เสนอแนวคิดการส่งเสริมความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำล้านช้าง–แม่น้ำโขง เพื่อเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจของตน และแสดงบทบาทมากยิ่งขึ้นในระดมสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียน

เดือนพฤศจิกายน ปี 2014 นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำจีน – อาเซียนครั้งที่ 17 และกล่าวว่าสนับสนุนข้อริเริ่มการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำล้านช้าง–แม่น้ำโขงที่เสนอโดยรัฐบาลไทย ทั้งได้เสนอให้สร้างกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง–แม่น้ำโขง ข้อเสนอนี้ได้รับการตอบรับสนับสนุนจากประเทศทั้งหลายในอนุภูมิภาคนี้

วันที่ 23 มีนาคม ปี 2016 การประชุมผู้นำกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขงครั้งแรก จัดขึ้นที่เมืองซานย่ามณฑลไหหลำของจีน นับได้ว่า ความปรารถนาร่วมกันของจีนและไทย ที่จะกระชับความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแน่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขงกลายเป็นจริงขึ้น และเป็นพลังขับเคลื่อนใหม่ของการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยด้วย

พลังขับเคลื่อนใหม่จากกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง จะผลักดันให้โครงการสร้างสรรค์ " 1 แถบ 1เส้นทาง" ของจีน เชื่อมต่อกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยอย่างดี อาทิ แผนการพัฒนา "ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก" และ "ไทยแลนด์ 4.0" เป็นต้น สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยกล่าวหลายครั้งว่า ไทยสนับสนุนและยินดีเข้าร่วมการโครงการสร้างสรรค์ของ " 1 แถบ 1 เส้นทาง"

เดือนกันยายนปีที่แล้ว จีนกับไทยได้ลงนามเอกสารความร่วมมือหลายฉบับ อาทิ โครงการปฏิบัติการร่วมกันและความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ การสร้างสรรค์ของ "1 แถบ 1 เส้นทาง" และโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น ปัจจุบัน จีนและไทยสามารถที่จะหารือปัญหาที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการเชื่อมโยงกับ " 1 แถบ 1 เส้นทาง" กับแผนการพัฒนาของไทย ภายใต้กรอบกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง

การเร่งดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระหว่างจีนกับไทย และโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำคัญอื่นๆ

พลังขับเคลื่อนใหม่ดังกล่าว จะผลักดันความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมการผลิตระหว่างจีนกับไทย เสริมการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาค ปัจจุบัน ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมการผลิตระหว่างจีนกับไทยประสบผลสำเร็จบ้าง นิคมอุตสาหกรรมระยองที่นักธุรกิจสองประเทศร่วมกันสร้างขึ้นนั้น ให้ความสำคัญในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องจักรและพลังงานใหม่ ปัจจุบันมีนักธุรกิจจีนไปลงทุนสร้างโรงงานกว่า 80 แห่ง

เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลไทยได้กำหนดเป้าหมายสำคัญด้านอุตสาหกรรมการผลิต 10 รายการ ได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ปิโตรเคมี เคมีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจดิจิตอล การแปรรูปผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร สิ่งทอและเสื้อผ้า เป็นต้น อันจะเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในอนาคต ซึ่งเป้าหมายด้านอุตสาหกรรมของไทยเหล่านี้ ก็สอดคล้องกับแผนการกระชับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมการผลิตระหว่างประเทศของจีน จีนสามารถที่จะช่วยประเทศไทยยกระดับการพัฒนาของอุตสาหกรรมการผลิตดังกล่าวให้สูงขึ้นภายใต้กรอบกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง นอกจากนั้น จีนและไทยยังคงสามารถดำเนินการประสานงาน เพื่อนำเอาอุตสาหกรรมการผลิตที่มีความเหนือกว่าของตนไปตั้งในประเทศที่มีต้นทุนค่อนข้างต่ำในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในภูมิภาค

พลังขับเคลื่อนใหม่ของกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง ยังจะผลักดันการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและมนุษยชาติ ระหว่างจีนกับไทยให้ก้าวสูงขึ้นอีกขั้น

ปีหลังๆ นี้ ความร่วมมือด้านนี้นับวันมากขึ้น ปี 2017 นักท่องเที่ยวจีนไปไทยเกินกว่า 90 ล้านคน นักศึกษาจีนที่ไปเรียนในไทยมีกว่า 30,000 คน ส่วนไทยเป็นประเทศที่มีนักศึกษามาเรียนในจีนมากเป็นอันดับ 3 ของโลก และก็มีนักศึกษาไทยไปเรียนในจีนกว่า 20,000 คน ประชาชนไทยนิยมเรียนภาษาจีนมากขึ้น กลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขงได้กำหนดทิศทาการพัฒนาที่สำคัญ ในนี้ก็มีความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและมนุษยชาติของประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง ซึ่งยอมจะเติมพลังใหม่ให้กับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างจีนกับไทย

ลักษณะเด่นสุดของกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง คือ มุ่งการลงมือปฏิบัติจริงและมีประสิทธิภาพสูง เปรียบเสมือนรถทำถนนที่กำลังกรุยเปิดหนทางใหม่ สร้างโครงการและสถานการณ์ใหม่ให้กับความร่วมมือระหว่างจีนกับไทย

(Yim/Lin)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040