นายจาง ซีหลง
อธิบดีฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวและความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติจีน
เมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา ที่กรุงปักกิ่ง นายจาง ซีหลง (Zhang Xilong) อธิบดีฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวและความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติจีน จัดงานสัมมนากับคณะผู้สื่อข่าวประเทศอาเซียนที่เดินทางมารายงานข่าวสารและผลความสำเร็จแห่งการร่วมมือกันในปีแห่งการท่องเที่ยวจีน – อาเซียน 2017 ที่ผ่านมา พร้อมทั้งแสวงหาทิศทางใหม่ของความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างสองฝ่าย
นายจาง ซีหลง กล่าวว่า อาเซียนและจีนเป็นแหล่งที่มาของนักท่องเที่ยวและเป้าหมายการเดินทางท่องเที่ยวที่สำคัญของกันและกันการกระชับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวกับประเทศอาเซียน มีความหมายสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตด้านการท่องเที่ยว และผลักดันการพัฒนาทั่วด้านของเศรษฐกิจและสังคม
งานสัมมนาฯ ณ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติจีน กรุงปักกิ่ง
สถิติจากสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติจีนระบุว่า ปี 2016 จีนรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด 28,150,000 คน ในจำนวนดังกล่าว เป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศอาเซียน 10,340,000 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในจำนวนดังกล่าว เป็นชาวไทย 750,000 คน ชาวเวียดนาม 3,170,000 คน (รวมชาวบ้านพื้นที่ชายแดน) ชาวพม่า 2,430,000 คน (รวมชาวบ้านพื้นที่ชายแดน) ชาวมาเลเซีย 1,160,000 คน ชาวฟิลิปปินส์ 1,130,000 คน ชาวสิงคโปร์ 920,000 คน ชาวอินโดนีเซีย 630,000 คน ชาวลาว 84,000 คน (รวมชาวบ้านพื้นที่ชายแดน) และชาวกัมพูชา 50,000 คน
ส่วนพลเมืองจีนที่เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศในปี 2016 มีจำนวนทั้งหมด 122 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าว ที่ไปเที่ยวประเทศอาเซียนมี 21,470,000 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน จุดหมายปลายทางที่สำคัญคือ ประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นต้น
นายจาง ซีหลง กับ คณะผู้สื่อข่าวอาเซียนที่เดินทางมาเยือนจีน
นายจาง ซีหลง อธิบดีฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวและความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติจีนระบุว่า ประเทศอาเซียนกับจีนเป็นแหล่งที่มานักท่องเที่ยวและจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวของกันและกัน การส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวกับประเทศอาเซียน มีความสำคัญต่อการพัฒนากิจการท่องเที่ยว และการพัฒนาทุกด้านทางเศรษฐกิจสังคมของทั้งสองฝ่าย มานานแล้ว ที่สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศจีนให้ความร่วมมือและสนับสนุนกันอย่างใกล้ชิดกับองค์การการท่องเที่ยวของประเทศอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียน ซึ่งมีส่วนส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับภูมิภาค ภายใต้ความพยายามของทุกด้าน
(YIM/LING/PATT)