จีนได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ขณะเข้าเป็นสมาชิก WTO หรือไม่
ในช่วงแรกของการเข้าเป็นสมาชิก WTO อุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ของจีนต้องเผชิญกับการแข่งขันระหว่างประเทศโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ รถยนต์ที่จีนผลิตเองล้าหลังมากเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนา การเก็บภาษีศุลกากรต่อรถนำเข้าก่อนเข้าเป็นสมาชิก WTO สูงถึง 100% แต่หลังจากเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว ลดต่ำลงเหลือ 25% ทำให้บริษัทผลิตรถยนต์ต้องปรับปรุงโครงสร้างสินทรัพย์และการผลิตขนานใหญ่ และเปิดตลาดรับเงินทุนต่างประเทศกว้างขึ้น สถิติที่เกี่ยวข้องแสดงว่า ปี 2017 จีนนำเข้ารถยนต์โดยสารความจุ 1.5 – 3 ลิตรคิดเป็นมูลค่ารวม 37,910 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มจากเมื่อปี 2001 ที่เป็นเพียง 890 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการส่งออกรถยนต์มี 891,000 ล้านคัน ความสามารถด้านเทคโนโลยี การบริหารจัดการและการให้บริการของภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของจีนได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และค่อยๆ สอดรับเข้ากับห่วงโซ่มูลค่าโลก
ช่วง 17 ปีหลังจากเข้าเป็นสมาชิก WTO เป็นต้นมา จีนให้ความสำคัญอย่างมากต่อคำมั่นสัญญา 3 ประการที่ให้ไว้กับ WTO ได้แก่ การค้าสินค้า การบริการและสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา มีการปรับปรุงระบบกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของรัฐบาลกลางและท้องถิ่นจำนวนมาก โดยรัฐบาลกลางได้ยกเลิก 2,300 ข้อ รัฐบาลท้องถิ่นยกเลิก 190,000 ข้อ ทั้งได้จัดตั้งกลไกตรวจสอบเอกสารที่ชอบด้วยกฎหมาย ขณะเดียวกัน ได้ลดภาษีศุลกากรการนำเข้าให้น้อยลงอย่างมาก เปิดกว้างตลาดบริการ ทุ่มกำลังเสริมการคุ้มครองสิทธิทรัพยสินทางปัญญา จนถึงเดือนสิงหาคมปี 2010 จีนได้ปฏิบิติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ขณะเข้าเป็นสมาชิก WTO ทั้งหมด
สมุดปกขาวยังมีเนื้อหาระบุว่า เมื่อปี 2010 ระดับภาษีศุลกากรโดยรวมของจีนลดลงจาก 15.3% มาเป็น 9.8% ซึ่งเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีนได้ชี้แจงว่า หากพิจารณาถึงปัจจัยโครงสร้างทางการค้าแล้ว อัตราภาษีศุลกากรโดยเฉลี่ยต่อสินค้านำเข้าของจีนมีเพียง 4.4% ส่วนสหรัฐฯ เป็น 2.4% สหภาพยุโรป 3% และออสเตรเลีย 4%
ด้านการค้าภาคบริการ ซึ่ง WTO แบ่งเป็น 12 ประเภทใหญ่ 160 สาขา เมื่อปี 2007 จีนได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่จะเปิดตลาด 9 ประเภทใหญ่ทั้งหมด 100 สาขา ซึ่งพอๆ กับคำมั่นสัญญาของประเทศพัฒนาแล้วที่จะเปิด 108 สาขา และในภาคการธนาคาร คอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมเป็นต้น ก็ได้อนุญาตให้จัดตั้งบริษัททุนต่างชาติ นักธุรกิจทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นส่วนใหญ่ และให้สิทธิ์เสมอภาคต่อทุนเป็นต้น ซึ่งในปี 2017 การลงทุนโดยตรงในจีนของนักธุรกิจต่างประเทศนั้น มี 73% อยู่ในภาคบริการ ขณะเดียวกัน จีนยังได้สร้างระบบกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิทรัพยสินทางปัญญาที่สมบูรณ์แบบ และเพิ่มกำลังการปฏิบัติตามกฎหมายในด้านนี้ โดยนับตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา จีนได้จ่ายค่าใช้จ่ายด้านสิทธิทรัพยสินทางปัญญาแก่บริษัทต่างประเทศเพิ่มขึ้น 17% ต่อปี ปี 2017 สูงถึง 28,600 ล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อเร็วๆ นี้ องค์การสิทธิทรัพยสินทางปัญญาโลกประกาศสถิติแสดงให้เห็นว่า ปี 2017 จีนได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรผ่าน "อนุสัญญาความร่วมมือสิทธิบัตร" มีจำนวนมากถึง 51,000 ชิ้น จัดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ
แม้ว่าบางประเทศยังมีข้อสงสัยต่อคำกล่าวที่ว่า "จีนปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับ WTO" แต่สมาชิกส่วนใหญ่ของ WTO ต่างเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ โดยนายปัสคาล ลามี อดีตผู้อำนวยการองค์การการค้าโลกถึงกับให้คะแนน A+ ที่เป็นคะแนนสูงสุดแก่จีน
การเข้าร่วม WTO ของจีนปรับเปลียนโลกอย่างไร
นายปัสคาล ลามีกล่าวว่า ผู้คนส่วนใหญ่เพียงแต่เห็นถึงการส่งออกของจีน แต่ไม่ได้คิดว่า จีนก็เป็นประเทศใหญ่ด้านการนำเข้าด้วย ปี2000 จีนเป็นประเทศส่งออกอันดับที่ 7 และประเทศนำเข้าอันดับที่ 8 ของโลก แต่หลังจากเข้าเป็นสมาชิก WTO 17 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน จีนได้ก้าวขึ้นเป็นประเทศส่งออกอันดับ 1 และประเทศนำเข้าอันดับ 2 ของโลก และยังเป็นประเทศใหญ่ด้านเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก ประเทศการค้าอันดับ 1 ของโลก ประเทศดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติมากเป็นอันดับ 1 รวมถึงเป็นประเทศที่ไปลงทุนในต่างประเทศมากเป็นอันดับ 2 อีกด้วย จีนเปิดประเทศ ทำให้เศรษฐกิจพัฒนาเหมือนโจนทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ทั้งได้สร้างคุณูปการสำคัญต่อการฟื้นฟูและการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
ตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา จีนสร้างคุณูปการโดยเฉลี่ย 30% ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และยังคงไว้ซึ่งแนวโน้มนี้จนถึงปัจจุบัน กล่าวได้ว่าเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก "เมดอินไชน่า" มิเพียงแต่สร้างโอกาสและคุณค่าให้กับทั่วโลก แต่ "กำลังการบริโภคของจีน" ก็ทำให้ตลาดบริโภคทั่วโลกรู้สึกตื่นเต้นไปตามๆ กัน ในฐานะที่เป็นคู่ค้าสำคัญของกว่า 120 ประเทศ ยอดการนำเข้าสินค้าของจีนเพิ่มขึ้น 13.5% เฉลี่ยต่อปี สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกที่เป็น 6.9% นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางออกนอกประเทศมี 130 ล้านคน การใช้จ่ายในต่างแดนสูงถึง 115 ,290 ล้านเหรียญสหรัฐ ล้วนสร้างโอกาสทางการค้าให้กับประเทศต่างๆ และเพิ่มโอกาสการมีงานทำ นอกจากนี้ ยังได้สร้างคุณูปการสำคัญในการลดจำนวนประชากรผู้ยากจนด้วย
การปฏิบัติตามระบบ WTO ของจีนนั้น ทำให้เกิดแนวคิดอะไรบ้าง
ระบบการค้าพหุภาคีที่ถือ WTO เป็นใจกลางนั้น เป็นพื้นฐานของการค้าระหว่างประเทศ มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการพัฒนาการค้าและสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปิดกว้าง ปัจจุบัน WTO มีสมาชิก 164 ราย ยอดการค้าครองสัดส่วน 98% ของโลก แต่ก็ยังเผชิญกับการท้าทายและข้อสงสัยที่ว่า "WTO ยังมีประสิทธิผลหรือไม่" โดยเฉพาะปีหลังๆ นี้ เกิด "กระแสต่อต้านโลกาภิวัตน์" ลัทธิกีดกันทางการค้านับวันรุนแรงยิ่งขึ้น และกลไกพหุภาคีทั่วโลกก็อ่อนลง เป็นต้น ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่มีสมาชิกหลบอ้อม WTO ก่อการปะทะทางการค้าขึ้น
ในช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์นี้ รายงานสมุดปกขาว "จีนกับองค์การการค้าโลก"ได้ให้คำตอบแบบจีนที่ชัดเจน จากมุมมองที่จีนเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัตน์ นั่นก็คือ จีนคัดค้านลัทธิกีดกันและลัทธิเอกภาคนิยม สนับสนุนระบบการค้าแบบพหุภาคีอย่างแน่วแน่ จีนเป็นผู้เข้าร่วม ผู้พิทักษ์และผู้สร้างคุณูปการที่สำคัญของระบบการค้าพหุภาคี ดังนั้น จีนมิเพียงแต่ใช้นโยบายการเก็บภาษีศุลกากรที่เป็นศูนย์ ต่อประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกเท่านั้น ทั้งยังเสนอข้อริเริ่ม " 1 แถบ 1 เส้นทาง" กลไกความร่วมมือพหุภาคี ที่รวมถึงข้อตกลงการค้าเสรีเป็นต้นต่อชาวโลก โดยหวังว่าสมาชิก WTO ทั้งหลายจะร่วมได้รับประโยชน์และเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน
พร้อมไปกับกระบวนการการเปิดประเทศจีนให้กว้างขึ้น ชาวโลกจะได้รับประโยชน์จากโอกาสการพัฒนาของจีนมากขึ้น ประเทศต่างๆ ควรรักษาและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ WTO สนับสนุนระบบกลไกการค้าพหุภาคีที่เปิดเผย โปร่งใส มีความหลากหลายและไม่มีการดูถูก จึงจะสามารถรับมือกับความไม่แน่นอนรูปแบบต่างๆ สร้าง ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมวลมนุษย์ ที่พึ่งพาอาศัยกันและได้รับประโยชน์สูงร่วมกัน
(Yim/Lin)