สำหรับประเด็นแรกที่ว่า การค้าขาดดุลนั้น กระทรวงพาณิชย์จีนระบุว่า สาเหตุหลักของประเด็นนี้อยู่ที่ "อัตราการออมเงินภายในประเทศสหรัฐฯ ต่ำเกินควร และเงินดอลล่าสหรัฐฯ เป็นสกุลเงินสำรองหลักของโลก" ตลอดจน "สหรัฐฯ จำกัดการส่งออกผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีไฮเทคที่มีความได้เปรียบ เนื่องจากยึดแนวคิดสงครามเย็น"
ประเด็นที่ 2 สิ่งที่เรียกว่า "การละเมิดสิทธิทรัพย์สินทางปัญหา" นั้น ก็ไม่มูลความจริงทั้งสิ้น ปัจจุบัน จีนคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญหาทุกสาขา ทั้งลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ความลับทางการค้า ตราสัญลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ พันธุ์พืชชนิดใหม่ การออกแบบผังวงจรไฟฟ้ารวม (ไอซี) นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญหาจากกฎหมายหลายระดับ
ขณะเดียวกัน จีนยังชำระเงินซื้อสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาของต่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับปี 2001 แล้ว มีจำนวนมากขึ้นปีละ 17% โดยในปี 2017 มีมูลค่าการซื้อขายมากถึง 28,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ประเด็นที่ 3 สิ่งที่เรียกว่า "การบังคับให้ถ่ายโอนเทคโนโลยี" นั้น คือเป็น "ข่าวลือ" ทั้งสิ้น โดยจีนไม่ได้บัญญัติกฎข้อบังคับใดว่าผู้ประกอบการต่างชาติจะต้องถูก "บังคับให้ถ่ายโอนเทคโนโลยี" เมื่อเข้ามาสู่จีน
ประเด็นสุดท้าย แผนปฏิบัติการ "เมด อิน ไชน่า 2025" (Made in China 2025) และนโยบายอื่นๆ ที่สหรัฐฯ กล่าวหานั้น ผู้ทรงความรู้ระบุไว้ตั้งแต่ต้นว่า รายงานผลการตรวจสอบตามมาตรา 301 ของสหรัฐฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อยับยั้ง (Suppress) การพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคของจีน ซึ่งแก่นแท้คือการยับยั้งการพัฒนาของจีน
แผนปฏิบัติการ "เมด อิน ไชน่า 2025" เป็นแผนการพัฒนาที่ยึดหลักการตลาดมีบทบาทเป็นแกนนำ เปิดเสรี และผนึกรวม ขณะที่ภาครัฐมีบทบาทเป็นผู้ชี้แนะและผู้ให้แนวทาง โดยผู้นำจีนย้ำหลายครั้งว่า "เมด อิน ไชน่า 2025" จะปฏิบัติต่อผู้ประกอบการจีนและต่างประเทศเท่าเทียมกัน และยินดีต้อนรับผู้ประกอบการต่างชาติมาร่วมภาคการผลิตของจีน
(TIM/LING)