ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงเป็นต้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและยุโรป ซึ่งเป็นพันธมิตรกันนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ในช่วงเริ่มต้นของสงครามเย็น สหรัฐฯ เข้มแข็งกว่ายุโรป ต่อมาทั้งสองฝ่ายได้แข่งขันและพยายามเอาชนะกันอย่างต่อเนื่อง หลังจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2017 เป็นต้นมา เขาได้ใช้ท่าทีดูถูกและกดขี่ยุโรป โดยเฉพาะช่วงที่เขาเดินทางเยือนยุโรปเมื่อไม่นานมานี้ เวลาไปไหนมาไหนเขาจะใช้ท่าทีดังกล่าวอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรปมีรอยร้าวมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรปได้ลงนามในแถลงการณ์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าฉบับหนึ่งไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่ก็ยากที่จะเยียวยาความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายที่กำลังอยู่ในขาลงอย่างต่อเนื่อง อันมีสาเหตุสำคัญ 3 ประการต่อไปนี้ หนึ่ง ช่วงสงครามเย็น ยุโรปพึ่งพาหลักประกันด้านความปลอดภัยจากสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด จึงตกเป็นหุ่นส่วนในพันธมิตรชาติตะวันตก สอง หลังสิ้นสุดสงครามเย็น การรวมกันของยุโรปทำให้ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปตะวันตกมีฐานะสูงขึ้น และการจัดตั้งสหภาพทำให้ยุโรปมีอิทธิพลทางการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศมากกว่าเดิมอย่างมาก อีกทั้งยังมีฐานะและกำลังพอ ๆ กับสหรัฐฯ และสาม นโยบายของทรัมป์กำลังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรปอยู่ในช่วงขาลง
ภายใต้ภูมิหลังที่ทรัมป์ถือยุโรปเป็นศัตรู แม้ว่านายฌ็อง โคลด ยุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปและนายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ลงนามในแถลงการณ์เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าแล้วก็ตาม แต่นั่นก็เป็นเพียงการแสดงความปรารถนาดีเท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนสถานการณ์ความสัมพันธ์โดยทั่วไประหว่างระหว่างสหรัฐฯ กับยุโรป ที่มีรอยร้าวอยู่แล้วได้
ที่สำคัญกว่านี้ คือ นายทรัมป์มีนิสัยทำงานตามใจชอบ และกลับคำง่าย ซึ่งเป็นท่าทีด้านการต่างประเทศของเขา ด้วยเหตุนี้ เขาคงไม่ไว้ใจยุโรป ประกอบกับการพิจารณาจากด้านความปลอดภัย การจัดระเบียบของทั่วโลก และการควบคุมทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และยุโรปต่างที่มีบาดแผลเชิงโครงสร้าง ดังนั้น ภายใต้การนำของทรัมป์ บาดแผลของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับยุโรปคงไม่มีวันหายดีได้
(Tim/Zhou/Zhou)